Informações:
Sinopse
21
Episódios
-
TK FORUM EP.37 เปิดชีวิต อ่านเพื่อนบ้าน: วิเคราะห์หนังสือนิทานพื้นบ้านอาเซียน
07/01/2021 Duração: 01h11minเปิดชีวิต อ่านเพื่อนบ้าน: วิเคราะห์หนังสือนิทานพื้นบ้านอาเซียน บรรยายโดย ดร.ภญ.พัชราภรณ์ ปัญญาวุฒิไกร นักวิชาการอิสระด้านการพัฒนาเด็กปฐมวัย มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาการเรียนรู้ บันทึกในโอกาสการประชุมวิชาการประจำปี 2556 (Thailand Conference on Reading 2013) ของสำนักงานอุทยานการเรียนรู้ โครงการศึกษาวิเคราะห์หนังสือนิทานพื้นบ้านและนิทานอาเซียนสำหรับเด็กสำรวจและคัดเลือกหนังสือนิทานของประเทศอาเซียนทุกประเทศเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการวิจัย นิทานพื้นบ้านของทุกชาติมีคุณค่าที่สำคัญร่วมกันคือ ความเอื้ออาทร การมีสติเมื่อพบกับปัญหาและรู้จักใช้ไหวพริบ เสริมสร้างการเห็นคุณค่าในตัวเอง และสามารถใช้นิทานเป็นสื่ออย่างกลมกลืนกับหลักคำสอนทางศาสนา
-
ReadAround EP.27 ทำนายเทรนด์ปี 2021 ในโรงเรียนมี AI ในบ้านก็ต้องมี ZOOM
30/12/2020 Duração: 15minสรุปข่าวสารเรื่องราวเด่นในแวดวงการอ่านและการเรียนรู้ทั้งของไทยและต่างประเทศ • ทำนายเทรนด์ปี 2021 ในโรงเรียนมี AI ในบ้านก็ต้องมี ZOOM สื่ออเมริกาคาดการณ์เทรนด์ในปี ค.ศ. 2021 โดยมีเทรนด์ 3 อย่างที่เชื่อมโยงกับโลกแห่งการเรียนรู้ ได้แก่ เครื่องมือ AI จะเข้ามามีบทบาทในแวดวงการศึกษามากขึ้น ปรากฏการณ์ Greta Effect ที่สะท้อนว่าเด็กรุ่นใหม่จะมีความตื่นตัวต่อประเด็นด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมสูง และห้อง Zoom Room ที่ใช้สำหรับคุยงานออนไลน์กลายเป็นเทรนด์แต่งบ้านสุดฮ็อต • 10 สุดยอดแอปเรียนภาษาสำหรับเด็ก พร้อมคู่มือเลือกแอปให้ลูกหลาน แนะนำรายชื่อ 10 แอปเรียนภาษายอดนิยม พร้อมด้วย 6 เคล็ดลับการเลือกแอปให้เหมาะกับบุตรหลาน • ฝรั่งเศสบุกเบิกมหาวิทยาลัยเสมือนจริง 100% แห่งแรกในยุโรป มหาวิทยาลัยธุรกิจ Neoma ในประเทศฝรั่งเศสเปิด Virtual Campus ที่มีการจำลองบรรยากาศของมหาวิทยาลัยจริงทุกประการ นักศึกษานานาชาติสามารถสร้างอวาตาร์ เข้าเรียนและทำกิจกรรมต่างๆ ในโลกเสมือนได้ • สตาร์ทอัพอินเดียผุดแพลตฟอร์ม FrontRow เน้นหลักสูตรสร้างสรรค์และบันเทิง น้องใหม่มาแรง FrontRow กลายเป็นสตาร์ทอัพการศึกษาที่ถูกจับตา การชูจุดขายด้วยหลักสูตร Hobby Lear
-
Read Around EP.26 8 เทรนด์การตลาดที่ห้องสมุดพลาดไม่ได้ ปี 2021
24/12/2020 Duração: 14minสรุปข่าวสารเรื่องราวเด่นในแวดวงการอ่านและการเรียนรู้ทั้งของไทยและต่างประเทศ • สิงคโปร์ปิดปรับปรุงห้องสมุดครั้งใหญ่ พร้อมกัน 8 แห่ง นับตั้งแต่ปีนี้ไปจนถึงปี 2026 เพื่อวางบทบาทห้องสมุดในด้านการเชื่อมโยงผู้คนในยุคดิจิทัลและนำเสนอสำนึกเรื่องชุมชน ต้องการให้ห้องสมุดเป็นพื้นที่อันทรงคุณค่าซึ่งสามารถเชื่อมโยงผู้คนเข้าไว้ด้วยกัน มีการรวมกลุ่มทางสังคม และเกิดการเรียนรู้ • 8 เทรนด์การตลาดที่ห้องสมุดพลาดไม่ได้ ปี 2021 การตลาดของห้องสมุดกำลังได้รับผลกระทบจากเทคโนโลยีไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าวงการอื่นๆ โดยเกิดเครื่องมือและช่องทางใหม่ๆ ที่ห้องสมุดสามารถสื่อสารกับผู้ใช้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น • ฝึกทักษะใหม่แบบด่วนจี๋ด้วยกฎ 20 ชั่วโมง หลายคนได้ยินเรื่อง “กฎ 10,000 ชั่วโมง” ในการฝึกฝนทักษะจนชำนาญ ซึ่งอาจทำให้รู้สึกท้อจนไม่อยากเริ่มต้น แต่ที่จริงแล้วมีกลวิธีที่ทำให้สามารถสร้างทักษะใหม่โดยใช้เวลาเพียง 20 ชั่วโมง • พิพิธภัณฑ์ใต้ดิน ย้อนรอยความรุ่งเรืองของเกาะรัตนโกสินทร์ เปิดพิพิธภัณฑ์บนแหล่งขุดค้นทางโบราณคดีใจกลางกรุงเทพฯ ในสถานีรถไฟฟ้าสนามไชย วัตถุในดินแต่ละชั้นบอกเล่าประวัติศาสตร์ตั้งแต่ยุคอยุธยา ยุควังท้ายวัด ยุคกระท
-
Coming To Talk EP. 49 ‘ทุ่งกับดอย’ แปลงทดลองเกษตรอินทรีย์ เปลี่ยนวิถีเกษตรชุมชน
16/12/2020 Duração: 47minด้วยความสนใจเรื่องเกษตร พืชพันธุ์ต้นไม้ และสรรพสัตว์ในท้องทุ่งท้องนามาตั้งแต่วัยเด็ก เมื่อเติบโตขึ้น มล - จิราวรรณ คำซาว จึงไปคว้าปริญญาเอกด้านชีววิทยามาจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และในฐานะคนเชียงดาวโดยกำเนิด เธอตัดสินใจกลับมาสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับถิ่นเกิด โดยขอแบ่งที่นาของพ่อมาทำแปลงทดลองเกษตรอินทรีย์ งดใช้สารเคมีทุกประเภทในการเพาะปลูกข้าว เริ่มต้นจากการให้ความรู้และจูงใจให้พ่อของเธอเชื่อ ด้วยการลงมือทำให้ดู . ในตอนนั้นไม่มีใคร-แม้แต่พ่อของเธอ-ที่เชื่อว่าการปลูกข้าวโดยไม่ใช้สารเคมีและปุ๋ยเคมีจะประสบผลสำเร็จ แต่แล้วผลผลิตจากแปลงทดลองเกษตรอินทรีย์ก็พิสูจน์ให้เห็นว่าเป็นไปได้ มีรายได้จากการขายเป็นรูปธรรมและมีความยั่งยืนกว่า ต่อมาคนในชุมชนที่สนใจการเกษตรไม่ใช้สารเคมี หรือคนที่มีไอเดียอยากทดลองปลูกพืชอินทรีย์ชนิดอื่นแต่ยังไม่มีพื้นที่ทดลอง จึงเริ่มได้เข้ามาเรียนรู้ ลงมือทดลองปลูก แล้วช่วยกันศึกษา แบ่งปันความรู้ จนเกิดเป็นพื้นที่เรียนรู้ด้านเกษตรอินทรีย์และนำความรู้ไปใช้จริงในพื้นที่เพาะปลูกของทุกคน ซึ่งเป็นที่มาของ ‘ทุ่งกับดอย ศูนย์การเรียนรู้เกษตรอินทรีย์แบบครบวงจร’ . ภายหลังเปลี่ยนวิธีคิดของเกษตรกรในชุมชนได้ เ
-
WanderingBook EP.9 เรื่องการเงินที่ทุกคนควรรู้ ความเหลื่อมล้ำและรัฐสวัสดิการ
09/12/2020 Duração: 23minการจัดการการเงินส่วนบุคคลเป็นเรื่องสำคัญ เป็นทักษะพื้นฐานในการจัดการชีวิตทุกช่วงวัย น่าแปลกที่ไม่มีการเรียนการสอนเรื่องนี้ในหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ . ‘MONEY 101 เริ่มต้นนับหนึ่งสู่ชีวิตการเงินอุดมสุข’ เป็นหนังสือที่แนะนำความรู้พื้นฐานด้านการจัดการการเงินส่วนบุคคลที่มีเนื้อหาดีเล่มหนึ่งและวางอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง ทั้งเรื่องการวางแผนการออม การทำงบการเงิน ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับภาษี และอื่นๆ . ผู้เขียนหรือจักรพงษ์ เมษพันธุ์ เชื่อว่าความรู้ทางการเงินจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย . แต่นั่นคงไม่จริง เพราะความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยถูกค้ำจุนด้วยสิ่งที่การจัดการการเงินส่วนบุคคลแก้ไม่ได้ เช่น กฎหมาย โครงสร้าง ความไม่เท่าเทียม หากไม่แก้ที่รากฐาน ความเหลื่อมล้ำย่อมไม่หายไป . รัฐสวัสดิการเป็นอีกหนึ่งทางออกที่จะช่วยให้ผู้คนมีอิสรภาพทางการเงิน ทว่า สิ่งนี้ก็ไม่ได้มาโดยง่ายในรัฐที่การดูแลประชาชนไม่ได้อยู่ในฐานคิด ดังนั้น มันจึงเป็นสิ่งที่เราต้องช่วยกันผลักดัน
-
Coming To Talk EP.48 ค่ายเยาวชนเชียงดาว เยียวยาอาการขาดธรรมชาติ
03/12/2020 Duração: 46minนิคม พุทธา อดีตเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เคยทำงานประจำอยู่ที่มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งประเทศไทย เขาใช้เวลากว่าครึ่งชีวิตในการปกปักรักษาธรรมชาติและคลุกคลีกับชาวบ้าน จนกระทั่งได้มาซื้อที่ดินประมาณสิบกว่าไร่บริเวณเชิงเขาดอยหลวงเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ก่อตั้ง “ค่ายเยาวชนเชียงดาว” เพื่อให้เป็นพื้นที่เรียนรู้และจัดกิจกรรมปลูกฝังจิตสำนึกอนุรักษ์ธรรมชาติให้กับเยาวชน . ภายในค่ายฯ มีศาลาทำกิจกรรม โรงนอน ลานกางเต็นท์ ต้นไม้ใหญ่น้อย และลำธารไหลผ่าน เหมาะสำหรับการค้นหาและตั้งคำถามถึงสรรพชีวิตที่ซ่อนตัวอยู่ในธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นก้อนหิน ดินหญ้า ใบไม้ หรือสายน้ำ . เขาบอกว่าทุกวันนี้ผู้คนส่วนใหญ่ล้วนเกิดอาการ “ขาดธรรมชาติ” ซึ่งแม้จะไม่ใช่โรค แต่จำเป็นต้องหาวิธีฟื้นฟูเยียวยา ด้วยการนำชีวิตกลับไปเชื่อมต่อกับธรรมชาติ รับฟังเสียงของธรรมชาติ รับรู้ความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นรายรอบตัวอย่างมีสติและสมาธิ แล้วที่สุดก็จะเข้าใจถึงความสัมพันธ์อันกลมกลืนระหว่างมนุษย์และธรรมชาติ รวมทั้งอาจหยั่งรู้ลงลึกไปถึงอารมณ์และจิตใจภายในของตนเอง . นี่คือแนวคิดและวิธีการพื้นฐานที่สุดของการเรียนรู้ในระดับปัจเจก ซึ่งระบบการ
-
ReadAround EP. 24 ‘Not Just Library’ เปลี่ยนโรงอาบน้ำให้ชุ่มฉ่ำด้วยความรู้และความสร้างสรรค์
18/11/2020 Duração: 16minสรุปข่าวสารเรื่องราวเด่นในแวดวงการอ่านและการเรียนรู้ทั้งของไทยและต่างประเทศ . • “คนขายหนังสือเท้าเปล่า” กับเกาะสวรรค์ของนักอ่าน โรงแรมในมัลดีฟส์ปิ๊งไอเดียดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาอ่านหนังสือ โดยสร้างร้านหนังสือและเฟ้นหา “คนขายหนังสือเท้าเปล่า” ที่จะช่วยสร้างชีวิตชีวาให้กับการอ่าน . • อาบแช่ความรู้ในห้องสมุดโรงอาบน้ำ ไต้หวันปรับโรงอาบน้ำโบราณให้กลายเป็น “Not Just Library” พื้นที่ที่ “ไม่ใช่แค่ห้องสมุด” . • เข้าถึงข่าวสารที่ถูกเซนเซอร์ ในห้องสมุด “Minecraft” ต่อกรกับการคุกคามเสรีภาพด้านสารสนเทศ ด้วยการสร้างห้องสมุดในเกมที่เต็มไปด้วยหนังสือและงานเขียนต้องห้าม . • นวัตกรรมที่ทำให้การชมพิพิธภัณฑ์ไทยไม่เหมือนเดิม กรมศิลปากรนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาประยุกต์ใช้กับงานด้านมรดกศิลปวัฒนธรรม ทั้งพิพิธภัณฑ์เสมือน และการใช้ Big Data
-
WanderingBook EP.8 ‘ช่างสักแห่งเอาช์วิทช์’ ในแสงสว่างและความมืดมิดของความรัก
12/11/2020 Duração: 21minนวนิยายที่เขียนขึ้นจากเรื่องราวชีวิตจริงของชายหนุ่มที่ชื่อ ลาลี ชาวยิวผู้ถูกกวาดต้อนไปสู่นรกแห่งการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ เอาช์วิทช์-เบียเคอเนา สถานที่ที่เป็นทั้งห้องทดลอง ห้องรมแก๊ส ห้องประหาร ห้องเผาศพ และสุสานของชาวยิวนับล้านชีวิต . แต่เรื่องนี้เกี่ยวกับความรัก เริ่มต้นด้วยความรัก ความรักท่ามกลางความโหดร้ายเท่าที่มนุษย์จะพึงทำกับมนุษย์ได้...เท่าที่โลกเคยจดจำ และจบลงด้วยความรัก . คือด้านสว่างไสวของความรักที่ทำให้คน 2 คนยืนหยัดที่จะมีชีวิตอยู่ต่อไป . ทว่า อีกด้านคือความมืดมิดของความรัก ความรักที่ล้นเกิน กระทั่งแปรเปลี่ยนเป็นความเกลียดชังจนไม่อาจมองเห็นมนุษย์เป็นมนุษย์ได้อีก . นำมาซึ่งการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวกว่า 6 ล้านชีวิตในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
-
Coming To Talk EP.47 ย่อประวัติศาสตร์เชียงราย ทำไมต้องรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น?
05/11/2020 Duração: 54minประวัติศาสตร์ท้องถิ่นนั้นแทบจะไม่มีที่ทางอยู่ในระบบการศึกษาปกติ ถึงแม้ว่าหลักสูตรการศึกษาหลายรายวิชาจะผ่อนคลายให้กับท้องถิ่นในการจัดการเรียนการสอนมากขึ้นกว่ากาลก่อน แต่ประวัติศาสตร์ชาติที่มีกรุงเทพฯ เป็นศูนย์กลางก็ยังคงมีบทบาทครอบงำความรู้เกี่ยวกับอดีตของคนไทยอยู่มาก . ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา การแสวงหาความรู้ความเข้าใจในรากเหง้าที่มาทางประวัติศาสตร์และภูมิปัญญาท้องถิ่นอาจดูเหมือนแพร่หลายและทวีความเข้มข้น สาเหตุหนึ่งนั้นเป็นผลมาจากกระบวนการสร้างสรรค์จุดขายเพื่อการท่องเที่ยว ขณะที่อีกเหตุผลหนึ่งเป็นเพราะความไม่ลงร่องของประวัติศาสตร์ชาติ(นิยม)แบบทางการกับเรื่องราวที่อยู่ในความรับรู้ของคนท้องถิ่น ทำให้นักคิดนักวิชาการท้องถิ่นมุ่งค้นหาคำอธิบายที่สอดคล้องกับหลักฐานทางประวัติศาสตร์ทั้งที่มีอยู่เดิมและที่ค้นพบใหม่ . อภิชิต ศิริชัย นักวิชาการอิสระ ผู้เชี่ยวชาญด้านเชียงรายศึกษา มาบอกเล่าประวัติศาสตร์เชียงรายฉบับย่อเพื่อความเข้าใจถึงความเป็นมาอันรุ่งเรืองของดินแดนล้านนา และเสนอแนะให้ท้องถิ่นสามารถจัดการศึกษาได้อย่างอิสระ ซึ่งจะนำไปสู่การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นอย่างเปิดกว้าง อันเป็นรากฐานความภาคภูมิใจและความตระหนักถึ
-
Coming To Talk EP.46 สนทนาภาษาศิลป์กับแม่ญิงเจียงฮาย
29/10/2020 Duração: 25minพูดคุยกับ ปอย – พจวรรณ พันธ์จินดา ผู้แต่งและผู้วาดนิทานเรื่อง ‘ทรายน้ำกก’ หนึ่งในผลผลิตนิทานท้องถิ่นจาก โครงการ “อ่านทั้งเมืองเรื่องเดียวกันเชียงราย” ที่จะถูกนำไปใช้ในกิจกรรมรณรงค์ส่งเสริมการอ่านสำหรับเด็กนักเรียนชั้นอนุบาล-ประถมต้นในเขตเทศบาลนครเชียงราย . ศิลปินหญิงที่สร้างชื่อจากมาสคอตเจียงฮายเกมส์ ‘น้องคำสุข’ จะมาแบ่งปันประสบการณ์ในการเรียนรู้ศิลปะนอกหลักสูตร เบื้องหลังการสร้างสรรค์นิทานเรื่องทรายน้ำกก และคาแรกเตอร์แมงสี่หูห้าตา รวมทั้งบทบาทของกลุ่มศิลปินแม่ญิงเจียงฮายในการขับเคลื่อน Art Scene ของจังหวัดเชียงราย
-
readWORLD EP.53 ปรากฏการณ์มหัศจรรย์ 'อ่านทั้งเมือง เรื่องเดียวกันเชียงราย'
22/10/2020 Duração: 43min“อ่านทั้งเมืองเรื่องเดียวกันเชียงราย” เริ่มกิจกรรมแรกด้วยการระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับเนื้อหาสาระของเชียงรายที่จะนำไปสร้างนิทานสำหรับเด็กปฐมวัย เมื่อกลางเดือน ก.ค. 63 ก่อนหน้านั้นคณะผู้ดำเนินงานได้รวบรวมรายชื่อกลุ่มองค์กรและบุคคลที่ทำงานด้านส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ในเชียงรายมาระยะหนึ่ง และประสานเชื่อมโยงทุกกลุ่มมาร่วมกันสร้างปรากฏการณ์มหัศจรรย์ให้เกิดขึ้นที่จังหวัดนี้ . จากการเริ่มต้นที่ศูนย์ บัดนี้เชียงรายมีนิทานท้องถิ่นของคนเชียงราย โดยคนเชียงราย เพื่อคนเชียงราย จำนวน 2 เรื่อง ได้แก่ “มาลีแอ่วดอย” และ “ทรายน้ำกก” มีการอบรมการใช้นิทานทั้งสองเล่มเพื่อนำไปขยายผลกับครูอนุบาล-ประถมต้น และผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทั่วเขตเทศบาลนครเชียงราย มีการจัดประกวดนิทานเล่มเล็กสำหรับเด็กและเยาวชน โดยฝีมือเด็กๆ ประถมปลายถึงมัธยมต้น มีการกระจายหนังสือนิทานไปตามพื้นที่การอ่านและจุดชุมชนทั่วเขตเทศบาล และกำลังจะมีการจัดงานมหกรรมอ่านทั้งเมืองเรื่องเดียวกันเชียงราย ในเดือน ธ.ค. 63 . เป้าหมายของโครงการที่คาดว่าจะมีคนเข้าถึงสื่อและกิจกรรมต่างๆ ประมาณ 2,000 คน อาจเกินเป้าไปถึง 5,000 คน อันเนื่องมาจากความตื่นตัวและร่วมแรงร่วมใจ
-
ReadAround EP.23 Scully Effect ตำนานคาแร็กเตอร์หญิงยุค 90’s ที่ส่งต่อแรงบันดาลใจให้สาวนักวิทย์
15/10/2020 Duração: 17minScully Effect ตำนานคาแร็กเตอร์หญิงยุค 90’s ที่ส่งต่อแรงบันดาลใจให้สาวนักวิทย์ เดนา สกัลลี (Dana Scully) คาแร็กเตอร์หญิงจากซีรีส์ดังในยุค 90’s เรื่อง The X-Files กลายเป็นแรงบันดาลใจให้กับหญิงสาว ผลวิจัยเผยว่าแฟนละครสาว 43% ที่ติดตามละครเรื่องนี้ตัดสินใจก้าวเข้าสู่อาชีพ STEM ตามรอยสกัลลี . ส่องโลก Edtech สตาร์ทอัพยักษ์ใหญ่ 2 สัญชาติที่น่าจับตา แพลตฟอร์ม ApplyBoard จากประเทศแคนาดาตั้งเป้าผลักดันตัวเองเป็น Digital Hub สำหรับการศึกษาต่อในต่างประเทศ ขณะที่ยูนิคอร์นเบอร์หนึ่งจากอินเดีย Byju เจ้าของแพลตฟอร์ม Virtual Classroom เน้นเจาะกลุ่มเป้าหมายเด็กนักเรียนที่ใช้ภาษาอังกฤษ ลั่นพร้อมก้าวสู่ตำแหน่งผู้ให้บริการการเรียนออนไลน์อันดับ 1 ของโลก . LoCoMoGo สอนโค้ดดิ้งให้เด็กเล็กผ่านรถไฟของเล่น สตาร์ทอัพจากเนเธอร์แลนด์ LoCoMoGo ตั้งใจจะพัฒนาของเล่น STEM ที่ช่วยให้เด็กสามารถ ‘เล่น’ ควบคู่ไปกับ ‘การเรียนรู้’ ได้ จึงเป็นที่มาของรถไฟสอน โค้ดดิ้ง รถไฟจะทำตามคำสั่งง่าย ๆ ที่เด็กเป็นคนตั้งโปรแกรมไว้อย่างเช่น ส่งเสียง เปิดไฟกระพริบ หรือเร่งความเร็ว และเด็กที่เล่นรถไฟ LoCoMoGo ทุกวันจะค่อย ๆ ซึมซับเบสิคการเขียนโค้ดไปโดยปริยาย . เด็
-
WanderingBook EP.7 ‘ฆ่า’ ชีวิต เพื่อ ‘รักษา’ ชีวิต
08/10/2020 Duração: 21minถ้าคุณสามารถช่วยชีวิตคน 1 คนด้วยการฆ่าคน 1 คน คุณจะทำหรือเปล่า? . แล้วถ้าเปลี่ยนเงื่อนไขว่าต้องฆ่าคน 1 คนเพื่อช่วยชีวิตคน 10 คนล่ะ? . แล้วถ้าต้องฆ่าคน 10 เพื่อช่วยชีวิตคน 100 คนล่ะ? . แล้วถ้าต้องฆ่าคน 164 คนเพื่อช่วยชีวิตคน 70,000 คนล่ะ? . คุณอาจจะรู้สึกว่าการตัดสินใจยากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อน้ำหนักของชีวิตไม่ว่าฝั่งใดฝั่งหนึ่งเปลี่ยนแปลงไป . บทละครเรื่อง ‘สะพรึง’ หรือ ‘Terror’ ของแฟร์ดินันด์ ฟอน ชีรัค (Ferdinand von Schirach) แปลโดยศศิภา พฤกษฎาจันทร์ ปัจจุบัน เธอสอนหนังสืออยู่ที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ ILLUMINATIONS EDITIONS จะพาเราไปสู่คำถามที่ว่า การฆ่าชีวิตเพื่อรักษาชีวิตนั้น ผิดหรือไม่...ในทางกฎหมาย . เราจะได้ฟังทั้งฝั่งอัยการและทนายจำเลยสอบพยาน ฟังคำแถลงปิดคดี และเป็นผู้ตัดสินว่าจะลงโทษหรือยกฟ้อง เราจะให้น้ำหนักกับกฎหมายหรือมโนธรรมสำนึก ไม่ง่ายที่จะตอบ . หมายเหตุตัวโตๆ ไว้ตรงนี้ว่า เรื่องนี้เกิดขึ้นในประเทศเยอรมนีที่นิติรัฐเข้มแข็งอย่างยิ่ง หากกรณีเช่นนี้เกิดขึ้นในประเทศที่ปกครองแบบอำนาจนิยม เราจะไม่มีวันได้เห็นคดีแบบนี้แน่นอน
-
Future City, Future Library: Experiences and Lessons Learned from the Library of Birmingham
01/10/2020 Duração: 01h02minFuture City, Future Library: Experiences and Lessons Learned from the Library of Birmingham บรรยายโดยไบรอัน แกมเบิลส์ (Brian Gambles) อดีตผู้อำนวยการห้องสมุดเมืองเบอร์มิงแฮม สหราชอาณาจักร บันทึกในโอกาสการประชุมวิชาการประจำปี 2559 (TK Forum2016) “นวัตกรรมห้องสมุดกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21” (Library Innovation and Learning in the 21st Century) ไบรอัน แกมเบิลส์ กล่าวถึงยุครุ่งเรืองของห้องสมุดเบอร์มิงแฮม ซึ่งห้องสมุดได้กลายเป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรมของเมือง และเป็นหมุดหมายที่สำคัญของนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ แต่ต่อมาไม่นานก็เริ่มถดถอยลงเนื่องมาจากนโยบายการปรับลดงบประมาณที่ส่งผลกระทบต่อห้องสมุดเล็กใหญ่ทั่วประเทศอังกฤษ
-
ReadAround EP.22 เปลี่ยนทุกหนแห่งให้กลายเป็นพื้นที่เรียนรู้ ด้วยล็อคเกอร์ยืมแล็บท็อป
24/09/2020 Duração: 13minสรุปข่าวสารเรื่องราวเด่นในแวดวงการอ่านและการเรียนรู้ทั้งของไทยและต่างประเทศ • ช็อปไอเดียสร้างห้องสมุดสวย ง่ายๆ ในเว็บเดียว สมาคมห้องสมุดการวิจัยแห่งยุโรป เปิดตัวฐานข้อมูลอาคารห้องสมุดในยุโรป เพื่อเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนความรู้เรื่องการสร้างอาคาร การต่อเติม การตกแต่ง และการปรับปรุงพื้นที่ห้องสมุด • เปลี่ยนทุกหนแห่งให้กลายเป็นพื้นที่เรียนรู้ มหาวิทยาลัยเมืองเบอร์มิงแฮมติดตั้งล็อคเกอร์อัจฉริยะให้บริการยืมแล็บท็อป ช่วยให้นักศึกษาทำงานและเรียนรู้อย่างยืดหยุ่นทุกที่ทุกเวลา • เพราะชีวิตต้องการพื้นที่กว้างๆ และความสร้างสรรค์ ประเด็นเรื่องการเพิ่มปริมาณและคุณภาพพื้นที่สาธารณะและพื้นที่สีเขียวที่ผู้คนได้มีปฏิสัมพันธ์กันและทำกิจกรรมที่สนใจ กำลังได้รับความสนใจในเมืองใหญ่ เช่น การเกิดขึ้นของ Creative Park ในใต้หวัน และโครงการ we!park ในไทย
-
ReadAround EP.21 Language Curry แอปเรียนภาษาที่ตอบโจทย์ชาวอินเดียในต่างแดน
17/09/2020 Duração: 16minสรุปข่าวสารเรื่องราวเด่นในแวดวงการอ่านและการเรียนรู้ทั้งของไทยและต่างประเทศ . ตลาดออดิโอบุ๊กเกาหลีเฟื่องฟู ปูทางคอนเทนท์แปลกใหม่ วิกฤติโควิด-19 เป็นปัจจัยกระตุ้นให้ตลาดหนังสือเสียงในเกาหลีใต้เติบโตแบบก้าวกระโดด ผู้พัฒนาหลายค่ายรวมทั้งหอสมุดแห่งชาติเกาหลีแข่งกันนำเสนอคอนเทนท์ใหม่หลากหลายรูปแบบเพื่อดึงดูดใจผู้ใช้บริการ . Language Curry แอปเรียนภาษาที่ตอบโจทย์ชาวอินเดียในต่างแดน เทคสตาร์ทอัพชาวอินเดียพัฒนาแอปเรียนภาษาสำหรับชาวอินเดียในต่างแดน และชาวต่างชาติ ชูจุดขายเรียนสนุก เข้าใจง่าย สอดแทรกเกร็ดความรู้ทางวัฒนธรรม ผ่านระบบอินเตอร์แอคทีฟและเกม พร้อมเปิดสอนภาษาราชการของอินเดียไปแล้ว 5 ภาษา . สตาร์ทอัพเซอร์เบียเปิดโลกทัศน์ใหม่ในห้องเรียนด้วย VR เทคสตาร์ทอัพสัญชาติเซอร์เบียคว้าทุนนวัตกรรมสร้างสรรค์จาก Unicef กว่า 3 ล้านบาท ด้วยการนำเทคโนโลยี XR สุดล้ำมาสร้างแพลตฟอร์มการเรียนออนไลน์เพื่อรองรับหลักสูตร STEM เปิดโอกาสให้นักเรียนสามารถทำการทดลองทางวิทยาศาสตร์ผ่านเทคโนโลยีโลกเสมือน . ผีซ้ำด้ำพลอยวงการศึกษา ภัยคุกคามทางไซเบอร์ระบาดหนักในช่วงโควิด การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อการเรียนออนไลน์ทั่วโลก นอกจาก
-
WanderingBook EP.6 เศรษฐกิจสามสีและทุนนิยมแบบจอมพลสฤษดิ์
10/09/2020 Duração: 28minเศรษฐศาสตร์อาจฟังดูเป็นเรื่องยาก แต่มันไม่ใช่เรื่องไกลตัว เศรษฐกิจเกี่ยวพันกับปากท้องของเรา ทั้งยังโยงไปถึงการเมือง เศรษฐกิจและการเมืองกำหนดกันและกันเสมอมา . หนังสือ ‘เศรษฐกิจสามสี’ ของวีระยุทธ กาญจน์ชูฉัตร พาเราสำรวจโลกทุนนิยม เส้นทางการพัฒนาประเทศของประเทศในเอเชียตะวันออก แล้วย้อนกลับมาดูของไทย ซึ่งยังคงติดกับดักประเทศรายได้ปานกลาง แม้จะเริ่มพัฒนาประเทศใกล้เคียงกัน . เหตุผลหนึ่ง วีระยุทธชี้ให้เห็นว่าเป็นเพราะไทยยังคงเป็น ‘ทุนนิยมแบบจอมพลสฤษดิ์’ ทำให้ผลพวงของการพัฒนากระจุกอยู่ในมือของคนจำนวนน้อย เกิดการผูกขาด และไร้การแข่งขัน สิ่งต่างๆ เหล่านี้หวนกลับมาหล่อเลี้ยงทุนนิยมพวกพ้องให้ดำเนินต่อไป . ส่วนประเด็นเศรษฐกิจสามสี-สีเขียว สีเงิน และสีทอง ผู้เขียนคิดว่าเป็นเรื่องที่ประเทศไทยต้องใส่ใจและให้ความสำคัญ . แต่ไทยต้องมียุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศเสียก่อน ยุทธศาสตร์คือการจัดลำดับความสำคัญ หากไม่มีสิ่งนี้ย่อมไม่ใช่ยุทธศาสตร์ คำถามใหญ่คือประชาชนจะขจัดทุนนิยมแบบจอมพลสฤษดิ์ได้อย่างไร? จะสร้างยุทธศาสตร์ประเทศไทยได้อย่างไร? . ...ต้องส่งเสียงให้ดังขึ้น
-
readWORLD EP.52 เมื่อห้องสมุดเป็นจุดหมายการท่องเที่ยว
03/09/2020 Duração: 40minในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ มีห้องสมุดใหม่หลายสิบแห่งเกิดขึ้นทั่วโลก หน้าตาของมันดูไม่เหมือนกับภาพของห้องสมุดซึ่งเป็นคลังหนังสือดังที่เห็นกันคุ้นเคยมาเมื่อในอดีตอีกต่อไป . ห้องสมุดใหม่ๆ กำลังเปลี่ยนภาพจำที่ผู้คนเคยมีต่อห้องสมุดแบบเดิม ผ่านสื่อโซเชียลที่กลายเป็นไวรัลจนดึงดูดให้นักท่องเที่ยวจากทั่วโลกแวะเวียนเข้ามาเยี่ยมชม . หนังสือจึงไม่ใช่จุดขายของห้องสมุดยุคใหม่อีกต่อไป แต่กลายเป็นความคิดสร้างสรรค์ของการออกแบบอาคารและการตกแต่งภายใน ตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกสารพัด ซึ่งได้เข้ามาบดบังรัศมีแทนที่หนังสือไปแล้ว . ไปทำความรู้จักห้องสมุด 7 แห่งใน 7 ประเทศที่กลายมาเป็นจุดหมายของนักท่องเที่ยว จากฟินแลนด์ ไอร์แลนด์ ไปยังแคนาดา และสหรัฐ ข้ามมากาตาร์ จีน และปิดท้ายที่นอร์เวย์ . ผ่านพ้นวิกฤติไวรัสระบาดเมื่อไร... เราจะไปเที่ยวห้องสมุดกัน!
-
ReadAround EP.20 ผลสำรวจเผย ทรัพยากรออนไลน์ของห้องสมุดถูกใช้น้อยเกินไปในช่วงล็อคดาวน์
27/08/2020 Duração: 23minสรุปข่าวสารเรื่องราวเด่นในแวดวงการอ่านและการเรียนรู้ทั้งของไทยและต่างประเทศ • ห้องสมุดนิวซีแลนด์ยกเลิกค่าปรับหนังสือที่ยืมเกินเวลา 118 ปี หนังสือจากห้องสมุดของนิวซีแลนด์ถูกพบที่ร้านหนังสือมือสองในออสเตรเลีย หลังจากถูกยืมออกมา 118 ปี งานนี้ห้องสมุดใจดียกเลิกค่าปรับ • ห้องสมุดกรุงเบรุต 3 แห่ง เสียหายหนักจากเหตุระเบิดครั้งใหญ่ องค์กรทั้งในและต่างประเทศช่วยกันระดมความช่วยเหลือ ทั้งรูปแบบและจิตอาสาและเงินทุนสำหรับซ่อมแซม • ผลสำรวจเผย ทรัพยากรออนไลน์ของห้องสมุดถูกใช้น้อยเกินไปในช่วงล็อคดาวน์ การปิดเมืองจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้อัตราการใช้บริการทรัพยากรออนไลน์ของห้องสมุดเพิ่มสูงขึ้นมาก แต่ยังน้อยกว่าที่ควรจะเป็น การตลาดเป็นเรื่องที่ห้องสมุดควรหันมาให้ความสำคัญมากขึ้น • 7 งานวิจัยหนุนเด็กไทยทันโลก นิด้า ร่วมกับ สสส. จัดทำวิจัย 7 เรื่องเพื่อช่วยส่งเสริมและยกระดับคุณภาพชีวิตเด็กไทย ที่เชื่อมโยงจากบ้านสู่ระบบการศึกษาและเข้าสู่ภาคแรงงานของเยาวชน
-
TK FORUM EP.35 ออกแบบการจัดการศึกษาเพื่อให้คนเรียนรู้ตลอดชีวิต
20/08/2020 Duração: 21minดร.ชัยยศ อิ่มสุวรรณ์ อดีตรองเลขาธิการสภาการศึกษาและอดีตรองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวเปิดงาน Solution Lab รวมหัวคิดผลิตนโยบายการเรียนรู้ตลอดชีวิต จัดโดยทีเคพาร์ค เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2563 ท้าทายวิธีคิดและการจัดการศึกษาที่มีมานานนับร้อยๆ ปี ไม่ว่าจะเป็นบทบาทของโรงเรียนและสถานศึกษาแบบดั้งเดิม หลักสูตรการศึกษาที่ไม่สัมพันธ์กับอาชีพการงานแห่งอนาคต การจัดการเรียนการสอนกับคุณภาพครู ไปจนถึงกระบวนการเรียนรู้และการแสวงหาความรู้ . เขาบอกว่าการจัดการศึกษาเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตต้องคำนึงถึงหลายปัจจัย อาทิ ผู้เรียนที่มีฉันทะในการเรียนรู้ ระบบนิเวศการเรียนรู้ ความพร้อมของผู้สอน และการจัดการศึกษาที่เอื้อหรือสอดคล้องกับความสนใจของคนแต่ละคน โดยผู้เรียนสามารถตอบตัวเองได้ว่าตนเองมีความถนัด สนใจ หรือต้องการเรียนรู้อะไรและอย่างไร . ในความเห็นของเขา ปัจจัยประการหลังนี่เองที่มีความท้าทายอย่างยิ่ง เพราะในยุคที่เทคโนโลยีมีบทบาทอย่างสูง จนทำให้รูปแบบวิธีการแสวงหาความรู้และพฤติกรรมการเรียนรู้เปลี่ยนแปลงไป การเรียนรู้ที่ผู้เรียนเป็นผู้กำหนดเอง (Self-determined Learning) หรือที่เรียกกันว่า Heutagogy กำลังทวีความสำคัญมากขึ้น .