Tk Podcast

  • Autor: Vários
  • Narrador: Vários
  • Editora: Podcast
  • Duração: 185:14:04
  • Mais informações

Informações:

Sinopse

Episódios

  • readWORLD EP.28 ‘แบบจำลองจัตวากาศ’ ทางเลือก ทางรอดของห้องสมุดในยุคพลิกผัน

    06/09/2018 Duração: 23min

    โครงการโมเดลแห่งเดนมาร์ก เกิดขึ้นเพื่อตอบสนองต่อความท้าทายที่ห้องสมุดกำลังเผชิญอยู่ โดยมีการออกแบบแนวคิดใหม่เพื่อสร้างบริการที่มุ่งตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ห้องสมุดอย่างแท้จริง ผลลัพธ์ที่ได้คือ Four Spaces Model หรือแบบจำลองจัตวากาศ ซึ่งเป็นแนวคิดที่ถูกพัฒนามาจากการทบทวนประสบการณ์ของห้องสมุดทั้งระดับชาติและนานาชาติ ก่อนที่จะนำไปประยุกต์ใช้และกลายเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของห้องสมุดทั่วประเทศเดนมาร์ก ในโลกยุคพลิกผัน (Disruption) ห้องสมุดจำเป็นต้องมีพื้นที่ 4 ลักษณะ ได้แก่ พื้นที่การเรียนรู้ พื้นที่สร้างแรงบันดาลใจ พื้นที่พบปะ และพื้นที่แสดงออก เพื่อบรรลุเป้าหมาย 4 ประการคือ การสร้างประสบการณ์ การมีส่วนร่วม การเสริมพลัง และการสร้างนวัตกรรม

  • readWORLD EP.27 เกรนจ์ในอังกฤษ วิตตร้าในสวีเดน โรงเรียนแห่งศตวรรษที่ 21 เพื่อพลเมืองแห่งศตวรรษที่ 22

    30/08/2018 Duração: 44min

    เมื่อโลกเปลี่ยนแปลงจากระบบอุตสาหกรรมเป็นการขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ โรงเรียนและการเรียนการสอนรูปแบบเดิมย่อมไม่อาจตอบสนองกับภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนไป readWORLD ชวนมารู้จักโรงเรียนคิดใหม่และการเรียนสอนแบบกลับตาลปัตรซึ่งนำมาสู่การสร้างสรรค์สภาพแวดล้อมและการเรียนรู้รูปแบบใหม่ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางอย่างแท้จริง โดยครูผู้สอนเองก็พร้อมเปลี่ยนแปลงตนเองมาเป็นผู้ปลูกฝังทักษะและสนับสนุนการเรียนรู้แบบเชื่อมโยง เพื่อให้เด็กๆ มีความพร้อมที่จะเผชิญหน้ากับโลกอนาคตที่มีความซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงในอัตราเร่ง

  • readWORLD EP.26 เลิกพูดซะที! คนไทยอ่านหนังสือปีละ 8 บรรทัด

    23/08/2018 Duração: 01h08min

    วาทกรรม “คนไทยอ่านหนังสือปีละ 8 บรรทัด” สร้างความจดจำให้ผู้คนจำนวนมาก เพราะเป็นถ้อยคำที่มีความ ‘แรง’ ส่งผลกระทบสูงต่อความรู้สึก ทั้งๆ ที่ไม่มีใครบอกได้ว่าวาทกรรมนี้มาจากข้อมูลข้อเท็จจริงแหล่งใด หรืออ้างอิงผลการสำรวจวิจัยจากที่ไหน ยิ่งพูดบ่อยก็ยิ่งตอกย้ำให้เชื่อว่า คนไทยอ่านหนังสือน้อยมาก โดยที่ไม่เคยตั้งคำถามกับตัวเลขที่สุดแสนจะเหลือเชื่อดังกล่าว และยังแฝงด้วยทัศนะเชิงดูถูกในทำนองที่ว่าคนอ่านหนังสือเยอะมีความเหนือกว่าหรือสูงส่งกว่าคนที่ไม่อ่าน แต่...ผลสำรวจการอ่านโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ นับตั้งแต่ปี 2546 จนถึงครั้งล่าสุด (พ.ศ.2558) รวม 6 ครั้ง ชี้ให้เห็นว่าคนไทยอ่านหนังสือกันไม่น้อย และใครที่กังวลว่าหนังสือกระดาษจะสูญหายตายไปจากการถาโถมเข้ามาของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ การสำรวจครั้งล่าสุดพบว่าถึงแม้ผู้อ่านมากกว่าครึ่งหนึ่งจะอ่านผ่านสื่อออนไลน์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ แต่สื่อหนังสือรูปแบบกระดาษก็ยังครองความนิยมถึงกว่า 96%

  • Coming To Talk EP.13 ‘บุ๊คโทเปีย’ และ ‘กาลครั้งหนึ่ง’ 2 ร้านหนังสืออิสระแห่งลุ่มน้ำสะแกกรัง

    16/08/2018 Duração: 01h45min

    จังหวัดสโลว์ไลฟ์อย่างอุทัยธานี มีร้านหนังสืออิสระถึง 2 ร้านตั้งอยู่ห่างกันเพียงไม่กี่มุมถนน เสน่ห์อย่างหนึ่งของร้านหนังสือที่มิใช่เชนสโตร์ คือการเป็นพื้นที่พบปะระหว่างคนรักหนังสือ ในบรรยากาศกรุ่นไอมิตรและกลิ่นกระดาษ บ่อยครั้งเจ้าของร้านนั่นเองที่เป็นผู้ร่วมสนทนากับผู้มาเยือน ยิ่งช่วยเพิ่มรสชาติการพูดคุยด้วยความรู้สึกเป็นกันเอง ทว่าในวันที่วงการหนังสือซบเซาและพฤติกรรมการอ่านเปลี่ยนไป ผู้คนเดินเข้าร้านหนังสือน้อยลง ร้านหนังสือเล็กๆ มองปรากฏการณ์นี้และหนทางข้างหน้าอย่างไร ทีมงาน readWORLD เดินดุ่ยไปคุยกับวิรัตน์ โตอารีย์มิตร นักเขียนเจ้าของนามปากกา “ญามิลา” “ปลาอ้วน” “วนาโศก” เจ้าของร้านหนังสือบุ๊คโทเปีย แล้วลุยแดดไปพบ วุฐิศานติ์จันทร์วิบูล เจ้าของร้านหนังสือกาลครั้งหนึ่ง โดยมีแมวชื่อ ‘เทโพ’ นอนขี้เกียจอยู่ข้างๆ มันหันหัวมามองต้อนรับพวกเราเพียงแวบเดียว จากนั้นก็หลับตานอนฟังคนคุยกันเรื่องหนังสือด้วยสีหน้าเบื่อหน่าย

  • Coming To Talk EP.12 การศึกษาที่แท้และจิตวิญญาณความเป็นครู

    09/08/2018 Duração: 01h47min

    ท่ามกลางธรรมชาติอันเงียบสงบห่างออกไปจากตัวอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นที่ตั้งของ “ทุ่งสักอาศรม” ที่พำนักของครูกานท์ หรือ ศิวกานท์ ปทุมสูติ กวีและนักเขียน ผู้ซึ่งเคยสวมบทบาทอาจารย์สอนภาษาไทย และอื่นๆ อีกมากมาย ครูกานท์อุทิศชีวิตหลังเกษียณให้กับการทำงานเพื่อความงอกงามของมนุษย์โดยไม่คิดมูลค่า ไม่ว่าจะเป็นค่ายกวีสำหรับเยาวชน กิจกรรมและการอบรมแก้ไขปัญหาการอ่านออกเขียนได้ การบ่มเพาะแนวทางการศึกษาที่จริงแท้และจิตวิญญาณความเป็นครู ในเส้นทางการดำเนินชีวิตที่ผ่านมา เมื่อได้กลั่นกรองใคร่ครวญสิ่งที่ผ่านพบอย่างสุขุมลุ่มลึก ครูกานท์ก็ตระหนักถึง “ความจริง” ของวิถีมนุษย์กับธรรมชาติ ซึ่งแม้ว่าความจริงนั้นอาจแปรเปลี่ยนไปได้ตามกาลเวลา หากด้วยสติและความรู้เท่าทันก่อเกิดเป็นความหมายของชีวิตที่เปี่ยมไปด้วยการเรียนรู้ที่ไม่มีวันสิ้นสุด

  • readWORLD EP.25 Library of Things มีทุกสิ่งให้เลือกสรรในห้องสมุด

    02/08/2018 Duração: 16min

    ห้องสมุดสรรพสิ่ง (Library of Things) ปรากฏตัวในโลกการเรียนรู้มานานกว่า 40 ปี ก่อนที่เราจะคุ้นหูกับคำว่า Internet of Things เสียอีก นี่คือรูปแบบของห้องสมุดที่ไม่มีหนังสือไว้ให้อ่านหรือยืมคืน แต่เป็นห้องสมุดสำหรับยืมคืนสิ่งของสารพัด หลายสิ่งไม่น่าเชื่อว่าจะมีให้บริการ หากเรามองว่าสิ่งของเครื่องใช้นั้นก็เป็นเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยให้ผู้คนได้ค้นหาความสนใจของตนและเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ แล้วทำไมล่ะจึงจะยืมสิ่งของต่างๆ ไปใช้เพื่อการเรียนรู้ไม่ได้ นอกเหนือไปจากการได้ใช้สิ่งของจำเป็นที่ไม่ต้องซื้อหา ซึ่งอาจเพราะต้องการใช้งานเพียงครั้งเดียว หรือใช้เพียงไม่กี่ครั้งก็ต้องเก็บไว้จนรกบ้านและในที่สุดก็ต้องทิ้งไปแล้ว การมีพื้นที่สำหรับยืมคืนอุปกรณ์สิ่งของเหล่านี้ยังเสริมสร้างนวัตกรรมการแบ่งปันที่น่าสนใจให้เกิดขึ้นด้วย การรณรงค์ให้ผู้คนซื้อน้อยลง ทิ้งน้อยลง และแบ่งปันกันมากขึ้น เชื่อมโยงกันมากขึ้น เกิดจิตสำนึกความเป็นชุมชน คือผลลัพธ์ที่ตามมาของไอเดียห้องสมุดสรรพสิ่ง

  • Coming To Talk EP.11 ‘กำเนิดวิทย์’ โรงเรียนผลิตเด็กไทยพันธุ์ใหม่

    26/07/2018 Duração: 01h05min

    นี่เป็นอีกหนึ่งโรงเรียนมัธยมปลายที่น่าจับตามอง ด้วยกระบวนการคัดเลือกผู้เข้าเรียนแบบเข้มข้นจากเด็กไทยทั่วประเทศ เน้นนักเรียนที่มีทักษะความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยให้ทุนเรียนฟรีทุกราย จัดการเรียนการสอนที่มุ่งให้เด็กรู้จักคิดวิเคราะห์ สามารถค้นหาและค้นพบความชอบความถนัดของตนเอง สนับสนุนเครื่องมือสำหรับการศึกษาค้นคว้าด้านวิทยาศาสตร์ ส่งเสริมการทำวิจัยและถ่ายทอดสื่อสารความรู้ กระทั่งนักเรียนบางรายถึงกับมีผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์นานาชาติ นับเป็นความสำเร็จอันน่าภาคภูมิใจของโรงเรียนที่ถือกำเนิดขึ้นมาเพียง 4 ปี

  • Coming To Talk EP.10 ถอดรื้อมายาคติ ‘เด็กไทยคิดไม่เป็น’

    19/07/2018 Duração: 39min

    “เด็กสายวิทย์หรือสายศิลป์ก็ไม่ชอบการเรียนแบบท่องจำทั้งนั้นแหละ!” ภาคิน นิมมานนรวงศ์ ครูสอนสังคมศึกษาในโรงเรียนเด็กวิทย์ พูดคุยกับทีมงาน readWORLD เรื่องการเรียนการสอนอย่างออกรส จนทำให้เราฉุกคิดถึงประโยค “เด็กไทยคิดวิเคราะห์ไม่เป็น” ว่าแท้ที่จริงแล้วเป็นเพราะการเรียนการสอนแบบท่องจำ หรือว่ามาจากเหตุใดกันแน่ ครูหนุ่มวัย 27 ปี ชี้ให้เห็นถึงบทบาทของครูและหนทางที่จะส่งเสริมให้เด็ก “คิดเป็น” ไว้อย่างน้อย 4 ประเด็น 1. ตั้งคำถามที่ถูกต้องให้เด็กคิด คำถามนั้นควรเชื่อมโยงกับเรื่องราวหรือสัมพันธ์กับชีวิตของเด็กและความเป็นไปของสังคม 2. ฝึกฝนให้เด็กรู้จักใช้เหตุผลวิพากษ์ผ่านหลักฐาน เอกสาร ข้อเท็จจริง ไม่ใช่การใช้ความรู้สึกหรือคิดไปเอง 3. ให้เสรีภาพแก่เด็กอย่างกว้างขวางรอบด้าน และ 4. ลดความสัมพันธ์เชิงอำนาจ ไม่ตัดสิน ไม่ลงโทษ ทำให้เด็กไม่รู้สึกผิดเมื่อคิดแตกต่าง ไม่ว่าจะอยู่ในฐานะครูหรือบทบาทใด ใช่หรือไม่ว่า 4 ประเด็นชวนคิดข้างต้นนี้คือสิ่งที่บรรดาผู้ใหญ่ต่างไม่เคยหยิบยื่นให้แก่เด็กๆ อย่างแท้จริง

  • readWORLD EP.24 ห้องสมุดในยุคข่าวปลอม

    12/07/2018 Duração: 38min

    ข่าวปลอมหรือ Fake News เฟื่องฟูแพร่ระบาดอย่างรุนแรงในยุคที่มีการใช้อินเทอร์เน็ตและโซเชียลมีเดียกันอย่างแพร่หลาย บางครั้งผู้บริโภคสื่อก็ไม่สามารถแยกแยะข้อเท็จจริงกับสิ่งที่ถูกแต่งเติมได้ ส่วนหนึ่งนั้นเป็นเพราะขาดทักษะการรู้สารสนเทศและสื่อ ขณะที่บางกรณีผู้รับสื่อก็พร้อมยอมรับและหลงเชื่อข่าวปลอมเพียงเพราะเนื้อหาข่าวนั้นตรงกับทัศนคติและจุดยืนทางการเมืองของตน ในแง่นี้ห้องสมุดจึงควรมีบทบาทเข้ามาช่วยให้ผู้ใช้บริการเรียนรู้การเสพสื่อและใช้สารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณและเป็นนักอ่านที่มีคุณภาพ ส่งเสริมการคิดวิพากษ์แหล่งข้อมูล รวมไปถึงการสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้กับความคิดที่แตกต่าง เพื่อให้ผู้คนรู้จักถกเถียงแลกเปลี่ยนกันด้วยข้อมูลและการใช้เหตุผล

  • readWORLD EP.22 กลยุทธ์ส่งเสริมวัฒนธรรมการอ่านของห้องสมุดประชาชนเกาสง

    26/06/2018 Duração: 25min

    พาไปรู้จักห้องสมุดประชาชนเกาสง เมืองสำคัญทางตอนใต้ของประเทศไต้หวัน ซึ่งนำกลยุทธ์ส่งเสริมการอ่านทุกรูปแบบที่สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและพฤติกรรมของผู้ใช้บริการ นวัตกรรมการให้บริการที่หลากหลายและทันยุคทันสมัยทำให้เมืองเกาสงกลายเป็นแดนสวรรค์ของนักอ่าน และผู้คนก็หันกลับมาเข้าห้องสมุดเพิ่มขึ้น ความสร้างสรรค์ที่ไม่หยุดนิ่งทำให้ห้องสมุดประชาชนเกาสงก้าวเข้าสู่ยุคทอง กลายเป็นภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรมและแลนด์มาร์กที่สำคัญของเมือง รวมทั้งสร้างผลกระทบทางสังคมในแง่การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมการอ่านให้หยั่งรากลึกอยู่ในวิถีชีวิตของผู้คนทุกเพศทุกวัย

  • readWORLD EP.21 อุทยานวัฒนธรรมและความสร้างสรรค์ซงซาน (SCCP) เชื่อมโยงวิถีชีวิตกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์

    21/06/2018 Duração: 28min

    กระบวนการ ‘นคราภิวัตน์’ (Urbanization) และแนวคิดใหม่ในการพัฒนาพื้นที่เมือง (Urban Space Re-development) ด้วยการปรับรูปการใช้ที่ดินหรือพื้นที่ให้เชื่อมโยงกับการส่งเสริมความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ตลอดจนกระตุ้นจินตนาการหรือแรงบันดาลใจใหม่ๆ เป็นแนวโน้มที่เปรียบเสมือนสายลมที่กำลังพัดแรง ทั้งในโลกตะวันตกจรดโลกตะวันออก กรอบคิดใหม่ดังกล่าว ได้เปลี่ยนให้สวนสาธารณะซึ่งเดิมทำหน้าที่ปอดของเมือง เป็นพื้นที่สำหรับการพักผ่อนหย่อนใจของชาวเมือง ทั้งการออกกำลังกายและกิจกรรมหลากหลายที่ได้ไกล้ชิดกับธรรมชาติและอากาศบริสุทธิ์ กลายเป็นเครื่องมือสนับสนุนอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ วัฒนธรรม และเศรษฐกิจฐานความรู้ ในขณะที่ฟังก์ชั่นเดิมก็ไม่ได้ถูกลดทอนหายไป เกิดเป็นความกลมกลืนระหว่างวิถีชีวิตกับความคิดสร้างสรรค์อย่างแยกไม่ออก

  • readWORLD EP.20 GIFU MEDIA COSMOS แหล่งเรียนรู้อันวุ่นวายที่แสนสงบ

    20/06/2018 Duração: 11min

    โตโย อิโตะ (Toyo Ito) สถาปนิกชาวญี่ปุ่นที่มีผลงานโดดเด่นในการออกแบบพื้นที่สำหรับการเรียนรู้ ผู้ซึ่งเคยฝากผลงานชิ้นเอก “เซ็นไดมีเดียเทค” (Sendai Mediatheque) และเป็นผู้ริเริ่มแนวคิด “สถาปัตยกรรมแห่งอนาคต” มาใช้ในงานออกแบบสร้างสรรค์ ซึ่งท้าทายและทำให้ขอบเขตนิยามการจัดแบ่งพื้นที่ตามแบบแผนเกิดความพร่าเลือน พิถีพิถันกับการเลือกใช้วัสดุและแหล่งพลังงานที่เหมาะสม และนำเสนอรูปลักษณ์อาคารที่แตกต่างไปจากขนบดั้งเดิม ทั้งหมดนี้สะท้อนอยู่อย่างเต็มเปี่ยมใน “กิฟุมีเดียคอสมอส” (

  • readWORLD EP.19 บ้านเก่าลำปาง โรงงานร้างไต้หวัน สร้างสรรค์ให้เป็นพื้นที่เรียนรู้

    12/06/2018 Duração: 18min

    พื้นที่เรียนรู้สร้างสรรค์เป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญของนิเวศการเรียนรู้สำหรับเมืองสร้างสรรค์ กรณีของ “บ้านหลุยส์” ที่จังหวัดสำปาง และ “Creative Park” ที่ประเทศไต้หวัน คือตัวอย่างที่น่าสนใจในการแปลงโฉมอาคารเก่าหรือพื้นที่รกร้างไม่มีคนใช้ประโยชน์ นำมาพัฒนาเป็นพื้นที่สาธารณะเพื่อการเรียนรู้สำหรับประชาชน และยังเป็นแนวโน้มรูปแบบการพัฒนาเมืองที่กำลังเกิดขึ้นในหลายเมืองทั่วโลก

  • readWORLD EP.18 ห้องสมุดสีเขียว Green Design, Green Service ในกระแสรักษ์โลก

    04/06/2018 Duração: 37min

    จุดเริ่มต้นของห้องสมุดกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเกิดขึ้นเมื่อต้นทศวรรษ 1990 โดยสถาบันอุดมศึกษากว่า 40 ประเทศได้ร่วมลงนามในสัตยาบันแตลลัวส์ (Talloires Declaration) นำไปสู่การวางแผนการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองที่มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ทำงานด้วยความตระหนักถึงความยั่งยืนของธรรมชาติ รวมทั้งวางแนวทางให้ห้องสมุดของมหาวิทยาลัยเหล่านั้นเปลี่ยนเป็นห้องสมุดรักษ์โลก ด้วยการแสวงหาวิธีลดผลกระทบจากการดำเนินงานของห้องสมุดที่มีต่อสิ่งแวดล้อม

  • readWORLD EP.17 รู้จักเด็กยุคดิจิทัล เข้าใจเรื่อง EF และการทำงานของสมอง

    24/05/2018 Duração: 43min

    มารู้จักลักษณะเด่นและพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กยุคดิจิทัล การทำงานของสมองของพวกเขาในท่ามกลางสิ่งแวดล้อมและสื่อการเรียนรู้แบบดิจิทัล ซึ่งหากเราเข้าใจหลักการทำงานของสมองก็จะช่วยส่งเสริมและสร้างโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมให้แก่เด็กๆ ได้อย่างไม่สิ้นสุด

  • readWORLD EP.16 BBL สนุกรู้ สนุกคิด สนุกทำ

    17/05/2018 Duração: 32min

    รู้จักทฤษฎีจัดการเรียนการสอนบนพื้นฐานแนวคิด Brain-based Learning 12 ข้อ และหลักการทำงานของสมอง 6 ข้อ เพื่อนำไปปรับใช้กับการเรียนการสอน การทำงาน และการส่งเสริมการเรียนรู้ทุกประเภท ทุกช่วงวัย

  • TKFORUM EP.12 I Have to Change to Stay the Same: Creative Learning Environment for Future Libraries

    10/05/2018 Duração: 01h12min

    การเพิ่มขึ้นของเทคโนโลยีสารสนเทศและพฤติกรรมของผู้ใช้บริการที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้ความต้องการของสังคมที่มีต่อห้องสมุดเปลี่ยนแปลงไปอย่างยิ่งเมื่อเทียบกับสองทศวรรษที่ผ่านมา ปัจจุบันห้องสมุดไม่ได้ผูกขาดการเข้าถึงข้อมูลอีกต่อไป ข้อมูลมีอยู่ทุกที่และผู้คนก็เข้าถึงได้ตลอดเวลา ร็อบ เบราซีลส์ (Rob Bruijnzeels) ได้แนะนำกลยุทธ์ใหม่ในการพัฒนาห้องสมุดไว้ว่า ห้องสมุดควรเป็นถนนไปสู่ภูมิปัญญา คือสนับสนุนการยกระดับข้อมูลให้ก้าวหน้าขึ้นไปจนกระทั่งกลายเป็น สารสนเทศ ความรู้ และความเข้าใจ อีกทั้งกระตุ้นให้สมาชิกเกิดความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน ซึ่งมีอิทธิพลต่อการหล่อหลอมอัจฉริยภาพ ความคิดใหม่ๆ หรืองานที่สร้างสรรค์ร่วมกันของชุมชน และห้องสมุดควรสร้างความสัมพันธ์ใหม่ ด้วยการเลิกมองผู้ใช้บริการว่าเป็นเพียงผู้บริโภค แต่เป็นผู้ที่สามารถผลิตและปรับเปลี่ยนข้อมูลความรู้และเรื่องราวต่างๆ ทั้งนี้ ได้ยกกรณีศึกษาแหล่งเรียนรู้ที่น่าสนใจ 2 แห่ง คือ โรงงานช็อคโกแลต เมืองเกาด้า และโรงแลกเปลี่ยนข้าวสาลี ในเมืองสกีดาม

  • readWORLD EP.15 ตั้งหลักคิด พินิจอนาคต บทบาทห้องสมุด

    30/04/2018 Duração: 38min

    ในช่วงครึ่งทศวรรษที่ผ่านมา โลกของการเรียนรู้เกิดการเปลี่ยนแปลงจาก 2 สาเหตุ หนึ่งคือความเปลี่ยนแปลงก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และสองคือความเปลี่ยนแปลงด้านแนวคิดเรื่องการเรียนรู้ ไม่ว่าผลกระทบจากสาเหตุใดจะมากหรือน้อยกว่ากัน แต่ผลจากความเปลี่ยนแปลงทั้งสองได้นำมาสู่การเปลี่ยนแปลงต่อโลกของห้องสมุด ซึ่งเริ่มปรากฏให้เห็นแล้วในห้องสมุดจำนวนมากในหลายประเทศ ตัวอย่างเช่น การลดพื้นที่จัดเก็บหนังสือมาเป็นพื้นที่อเนกประสงค์เพื่อการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น การจัดพื้นที่สำหรับการพบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความคิดเห็นระหว่างผู้ใช้งานห้องสมุด การสร้างสรรค์พื้นที่สำหรับลงมือปฏิบัติหรือทดลองทำ สิ่งเหล่านี้กำลังจะเปลี่ยนโฉมหน้าห้องสมุดอนาคตให้กลายเป็นพื้นที่เรียนรู้สร้างสรรค์และสร้างนวัตกรรม เป็นพื้นที่ค้นพบประสบการณ์และการรู้จักตนเอง เป็นพื้นที่พัฒนาและเผยแพร่องค์ความรู้ดิจิทัลผ่านสื่อใหม่

  • Coming To Talk EP.9 สอนวิทย์ สอนคิด

    19/04/2018 Duração: 52min

    ในขณะที่สังคมไทยมีระบบการศึกษาแบบเน้นการท่องจำ แต่การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์มุ่งเน้นการเรียนแบบใช้เหตุผลและรู้จักคิดวิเคราะห์ ครูวิทยาศาสตร์จึงต้องสร้างสรรค์กระบวนการสอนที่ไม่ยึดติดอยู่กับตำราหรือความรู้ในเชิงวิชาการ ดังเช่นครูกัณจนา อักษรดิษฐ์ ที่โรงเรียนเทิงวิทยาคม ที่ได้ริเริ่มโปรแกรมการเรียนวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนตั้งแต่ชั้น ม.1 โดยวิธีการสอนแบบใช้โครงงานเป็นฐาน และชวนให้นักเรียนได้สัมผัสปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในชุมชน เกิดทักษะการตั้งคำถาม สังเกต และเก็บข้อมูล อันเป็นพื้นฐานของการคิดเชิงวิทยาศาสตร์ พร้อมกันนั้นก็สนับสนุนให้นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์ กล้าแสดงออก และมีสำนึกรักบ้านเกิด

página 12 de 14