Informações:
Sinopse
21
Episódios
-
Read Around EP.3 Public Libraries 2020 สะท้อนบทบาทห้องสมุดยุคใหม่ในกลุ่มประเทศอียู
31/01/2019 Duração: 01h09minRead Around EP.3 สรุปข่าวสารเรื่องราวเด่นในแวดวงการอ่านและการเรียนรู้ทั้งของไทยและต่างประเทศ ในรอบเดือนมกราคม 62 พบกับเรื่อง... - ห้องสมุดในกลุ่มอียูก้าวหน้าทิ้งห่างประเทศอื่น กับแคมเปญ Public Libraries 2020 - Tara Books สำนักพิมพ์หนังสือภาพทำมือของประเทศอินเดียที่กวาดรางวัลมาทั่วโลก - ห้องสมุดเมืองโตรอนโต ประเทศแคนาดา ฉีกกฎเกณฑ์ห้องสมุดรูปแบบเดิม - เก็บตกงาน LIT Fest เทศกาลหนังสือสนุกไฟลุกพรึ่บ
-
Coming To Talk EP.20 ‘Learning for Solution’ เรียนรู้เพื่อแก้ปัญหา
24/01/2019 Duração: 39minกิตติรัตน์ ปิติพานิช ผู้อำนวยการสำนักงานอุทยานการเรียนรู้ (TK Park) คนใหม่ เปิดเผยไอเดียเบื้องหลังแนวคิด Learning to Learn ที่อยากจะเห็นทีเคพาร์ควางบทบาทเป็นแพลตฟอร์มที่ดึงผู้คนซึ่งมีส่วนได้ส่วนเสียในประเด็นปัญหาหนึ่งๆ ให้มานั่งร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน โดยทำหน้าที่เสมือน Facilitator คอยอำนวยความสะดวกและกระตุ้นให้เกิดการคิดหรือค้นหาสาเหตุที่มาของปัญหา และทดลองหาวิธีการแก้ไข โดยใช้กระบวนการ Design Thinking ซึ่งให้ความสนใจกับผู้ใช้หรือผู้ที่ได้รับผลกระทบจริงเป็นศูนย์กลาง (Human-centered approach) เขาบอกว่า ความรู้ที่นำไปสู่การแก้ไขปัญหาจึงจะเป็นความรู้ที่ก่อเกิดประโยชน์ หัวใจของการเรียนรู้คือการรู้จักวิธีการเรียนรู้และวิธีการคิด แนวคิด Learning to Learn จึงหมายถึงการเรียนรู้เพื่อคิดหาหนทางแก้ไขปัญหา หรือ Learning for Solution และเป็นที่มาของ Solution Lab ที่เขาอยากสร้างขึ้นให้เป็นต้นแบบ และนำไปเผยแพร่ยังเครือข่ายทั่วประเทศ เพื่อสร้างคนให้คิดเป็น แก้ปัญหาเป็น และกล้าลงมือทำในสิ่งที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน การปรับตัวให้ทันสถานการณ์แวดล้อมได้อย่างรวดเร็วและมีพลวัต คือความท้าทายของทีเคพาร์คที่จะขยับไปสู่บทบาท
-
Coming To Talk EP.19 เปิดตำนานร้านดวงกมล The Rise and Decline of D.K. Bookstore
17/01/2019 Duração: 01h42minร้านหนังสือดวงกมล หรือ “ดีเคบุ๊คสโตร์” เป็นหนึ่งในร้านหนังสือในดวงใจของนักอ่านหลายต่อหลายคน แม้ว่าสุข สูงสว่าง ผู้ก่อตั้งร้านหนังสือแห่งนี้ได้ล่วงลับไปแล้ว แต่หนอนหนังสือจำนวนไม่น้อยยังคงจดจำได้ถึงเสน่ห์ของร้านที่เต็มไปด้วยหนังสือหลากหลายละลานตา บางเล่มก็หาที่ไหนไม่พบนอกจากที่นี่ ว่ากันว่านักอ่านบางรายถึงกับมายืนรอตั้งแต่ก่อนเปิดร้าน ขณะที่อีกหลายรายแม้จะถึงเวลาปิดร้านแล้ว ก็ยังคงเดินหาซื้อหรือยืนอ่าน หากเจ้าของไม่ไล่ก็ยังไม่ยอมออกจากร้าน ในยุครุ่งเรือง ศูนย์การค้าชั้นนำที่เปิดใหม่ต่างก็มาเชื้อเชิญให้ดวงกมลเข้าไปเปิดร้านหนังสือภายในศูนย์ ร้านดวงกมลเคยขยายสาขามากถึงกว่า 100 แห่ง และสร้างประวัติศาสตร์ทำร้านหนังสือขนาดใหญ่เท่าสนามฟุตบอล จนกระทั่งเมื่อเศรษฐกิจไทยพังพินาศในปี 2540 ดวงกมลก็เป็นรายหนึ่งซึ่งต้องเซ่นสังเวยพิษเศรษฐกิจในวิกฤตต้มยำกุ้งและกลายเป็นบริษัทล้มละลาย ก่อนที่จะฟื้นฟูและกลับมายืนหยัดใหม่อีกครั้ง สมบูรณ์ สกุลสุทธวงศ์ ทายาทรุ่นที่ 2 เปิดใจบอกเล่าเรื่องราวความเป็นมาของร้านหนังสือระดับตำนานที่อยู่คู่วงการหนังสือมาเกือบครึ่งศตวรรษ และเบื้องหลังการทำลายหนังสือ 8 ล้านเล่มที่เป็นข่าวครึกโครมเมื่อช่วงปล
-
Coming To Talk EP.18 'กอล์ฟ ทีโบน' ไม่โลดโผนกับชีวิต แต่ความคิดโจนทะยาน
10/01/2019 Duração: 01h22minนานๆ ทีถึงจะมีโอกาสได้ฟังเรื่องราวชีวิตและวิธีคิดของ กอล์ฟ ทีโบน – นครินทร์ ธีระภินันท์ ผู้เป็นทั้งศิลปิน นักกีตาร์ นักแต่งเพลง อาจารย์ ช่างภาพ และอีกหลากหลายสถานภาพตามที่ความสนใจจะชักนำพาเขาไป ทุกครั้งที่เขาสนใจสิ่งใด จะตามมาด้วยการลงมือศึกษาเรียนรู้และทำสิ่งนั้นอย่างมุ่งมั่นจริงจัง จนดูเหมือนว่าสิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างเส้นทางการเรียนรู้นี่แหละคือแก่นกลางของการก่อรูปความคิด และกลายเป็นตัวตนของเขาในที่สุด กอล์ฟ ทีโบน จึงสนุกกับการแสดงดนตรีบนเวทีแบบทันทีทันควัน (improvise) ที่ต้องใช้ปฏิภาณผนวกกับความสามารถระดับสูง เพื่อเรียนรู้และค้นพบสิ่งใหม่ตลอดเวลา เช่นเดียวกับมุมมองการใช้ชีวิตที่ไม่เคยจำกัดกรอบตัวเองเอาไว้ตายตัว เรื่องราวของเขาเป็นอีกครั้งที่ตอกย้ำให้เห็นว่า ความสำเร็จของชีวิตนั้นหาใช่มาจากพรสวรรค์ แต่ล้วนมาจากการใฝ่หาความรู้และฝึกฝนจนชำนาญ แน่นอนว่า สิ่งซึ่งมีส่วนในการเสริมส่งอย่างสำคัญต่อความพยายามฝึกฝนตนเองนั้น คือความลุ่มหลงสนใจในบางเรื่อง หรือที่เรียกว่า passion แต่การที่คนๆ หนึ่งจะล่วงรู้ถึงความลุ่มหลงดังกล่าวได้ ก็มิใช่มาจากการนั่งฝันเพ้อโดยไม่ทำอะไร แต่ต้องมาจากการเฝ้าเพียรถามตนเองทุกขณะ และไขว่ค
-
TKFORUM EP.14 ปฏิรูประบบการเรียนรู้คือการปฏิรูปสังคมที่แท้จริง
03/01/2019 Duração: 58minดร.วรากรณ์ สามโกเศศ อธิการบดีกิตติคุณ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นวิทยากรบรรยายหัวข้อ “ปฏิรูประบบการเรียนรู้คือการปฏิรูปสังคมที่แท้จริง” ในการประชุมวิชาการ TK Forum 2014 ของสำนักงานอุทยานการเรียนรู้ เขากล่าวว่าการปฏิรูปหมายถึงการเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมที่พึงปรารถนา ซึ่งควรมีแนวทางอย่างน้อย 3 ประการคือ ประสิทธิภาพการผลิต สังคมที่เป็นธรรม สังคมที่มีคุณธรรม การปฏิรูประบบการเรียนรู้ให้เป็นไปตามแนวทางดังกล่าวจึงควรเป็นการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงใน 4 ลักษณะ คือ ผู้เรียนมีส่วนร่วม จุดไฟความอยากรู้ ร่วมรับผิดชอบ และเรียนรู้หลากหลายรูปแบบ เขายังเสนอให้การขับเคลื่อนการปฏิรูปการเรียนรู้เชื่อมโยงเข้ากับการปฏิรูปสังคม โดยคนที่จะเป็นกำลังสำคัญของการปฏิรูปไปสู่สังคมที่พึงปรารถนา ควรเป็นคนที่มีทักษะศตวรรษที่ 21 คือมีทั้งทักษะการเรียนรู้ ทักษะชีวิต และทักษะด้านเทคโนโลยี นอกจากนั้นควรมีความรู้ในการทำมาหากินและการดำรงชีพ มีทัศนคติและค่านิยมที่เป็นบวก เช่น การมองโลกในแง่ดี สร้างสรรค์ มีความกตัญญู มีพฤติกรรมที่ดี คือมีความเป็นมนุษย์และมีความเป็นพลเมือง
-
Read Around EP.2 ‘ช้อปหนังสือช่วยชาติ คนซื้อได้ประโยชน์แน่ แต่คนส่วนใหญ่ได้ประโยชน์หรือไม่?’
25/12/2018 Duração: 01h16minRead Around EP.2 สรุปข่าวสารการอ่านและการเรียนรู้เรื่องเด่นในรอบเดือน ส่งท้ายปี 2561 พบกับเรื่อง... - ช้อปหนังสือช่วยชาติ คนซื้อได้ประโยชน์แน่ แต่คนส่วนใหญ่ได้ประโยชน์หรือไม่? - ความเหลื่อมล้ำของการศึกษาไทย กระทบถึงความเสียหายทางเศรษฐกิจ - ห้องสมุดเนเธอร์แลนด์ คว้าห้องสมุดยอดเยี่ยมแห่งปี 2018 - ศูนย์การเรียนรู้แห่งใหม่ในย่านเมืองเก่าสงขลา
-
TKFORUM EP.13 เจาะลึกการอ่านและการเรียนรู้ มุมมองและคำถามจาก 'กูรูการตลาด'
20/12/2018 Duração: 58minศาสตราภิชาน ไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ กูรูด้านการตลาดและการจัดการ ที่ปรึกษาบริษัทเอกชนและหน่วยงานภาครัฐหลายแห่ง ผู้ให้ความสนใจอย่างสูงกับเรื่องของการจัดการความรู้ เป็นวิทยากรบรรยายหัวข้อ “ข้อสังเกตบางประการต่อกระบวนการส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ของไทย” ในการประชุมวิชาการ Thailand Conference on Reading 2011 ของสำนักงานอุทยานการเรียนรู้ เขาเริ่มด้วยการวิเคราะห์ความหมายของ ความรู้ กับ องค์ความรู้ เพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจได้กระจ่างถึงการจัดการความรู้ในฐานะที่เป็นหนึ่งในกระบวนการส่งเสริมการเรียนรู้ที่สำคัญ พร้อมทั้งตั้งข้อสังเกต 5 ประการเกี่ยวกับการส่งเสริมการอ่านของประเทศไทย ซึ่งเชื่อมโยงมาสู่ข้อเสนอและคำถาม 5 ข้อ ที่มีต่อกระบวนการเรียนรู้ในสังคมไทย เขาบอกว่าการบรยายนี้มุ่งหวังให้เป็น ‘เมล็ดพันธุ์ที่จะนำไปใช้คิดต่อ’ หรือ seed for thought ดังนั้นจึงไม่มีคำตอบสำเร็จรูปให้ อีกทั้งเรื่องของการส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้นั้น มีคนพร้อมจะตอบอยู่เยอะ แต่คนที่ตั้งคำถามที่ดีไม่ค่อยมี เขาจึงมาช่วยตั้งคำถามที่ดีเพื่อหวังว่าจะทำให้ทุกคนได้ค้นหาและค้นพบคำตอบที่ดีและถูกต้อง
-
Coming To Talk EP.17 ผ่ายุทธจักรนิยายแปลกับช่วงแห่งชีวิต ของ ‘สุวิทย์ ขาวปลอด’
13/12/2018 Duração: 01h24minยุทธจักรหนังสือแปลเมื่อเกือบสี่สิบปีก่อนนับเป็นตำนานบทหนึ่งของบรรณพิภพไทย ด้วยเรื่องราวที่มีทั้งบรรยากาศอบอุ่นอวลกลิ่นไอมิตรภาพสหายรัก และการขับเคี่ยวกรุ่นระอุดุเดือดของขุนพลแม่ทัพในมหาศึกสงครามชิงตลาดนักอ่าน แน่นอนว่าหนึ่งในตัวละครสำคัญนั้นย่อมหนีไม่พ้นชื่อของ สุวิทย์ ขาวปลอด ที่ว่ากันว่าเพียงแค่เห็นชื่อนี้เป็นผู้แปลก็การันตีความสนุกตื่นเต้นเร้าใจได้โดยไม่ต้องสนใจชื่อหนังสือ ยามสายวันหนึ่งที่บริเวณสวนสาธารณะชานเมือง สุวิทย์ค่อยๆ พาเราย้อนกลับไปสัมผัสกับยุคสมัยที่ตื่นเต้นที่สุดยุคหนึ่งของวงการหนังสือ พร้อมกับคลี่ชีวิตส่วนตัวที่ถูกบ่มเพาะหล่อหลอมมาแต่วัยเยาว์ ราวกับเพื่อที่จะได้มายืนเป็นนักแปลแถวหน้า ถึงแม้จะค้นพบตนเองว่ามีความสามารถด้านภาษาและรักที่จะเป็นนักแปล แต่แรงขับและความทะเยอทะยานส่วนตัวที่อยากก้าวให้สูงขึ้นดีขึ้นกว่าเดิม ทำให้บางครั้งก็พบพานกับความล้มเหลว ในขณะที่บางครั้งเมื่อต้องตัดสินใจเลือกท่ามกลางความเสี่ยงและมองเห็นโอกาสเพียงริบหรี่ ก็กลับกลายเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้เดินมาสู่หนทางความสำเร็จ
-
readWORLD EP.36 โอกาสทองของห้องสมุดกับบทบาทผู้ผลิตสิ่งพิมพ์เอง (Self-publish)
06/12/2018 Duração: 29minเป็นไปได้หรือไม่ที่ห้องสมุดจะผลิตสิ่งพิมพ์เองหรือ Self-publish? บทบาทของห้องสมุดในการเป็นผู้ผลิตสิ่งพิมพ์เองนั้นสามารถเกิดขึ้นได้ เพราะความประจวบเหมาะของโอกาส 3 ประการ ได้แก่ ความพร้อมของเทคโนโลยีดิจิทัล ความแพร่หลายกระจายตัวของการส่งเสริมการเขียนและการผลิตสื่อ และโอกาสจากสิ่งท้าทายห้องสมุดอย่างน้อย 2 เรื่อง คือการเป็นสถาบันทางสังคมที่ทำหน้าที่ช่วยอุดช่องว่างความเหลื่อมล้ำของผู้คน และเป็นสถาบันที่สร้างเครื่องมือจัดระบบหรือสืบค้นสารสนเทศในรูปสิ่งพิมพ์
-
Read Around EP.1 เมื่อ AI และ Robot คืบเข้ามาใกล้ เราเรียนรู้รับมือสิ่งใหม่กันแล้วหรือยัง?
29/11/2018 Duração: 01h19minพบกับ ‘Read Around’ ช่วงเวลาใหม่ของรายการ readWORLD ซึ่งจะรวบรวมข่าวสารการเรียนรู้ในรอบเดือน มาบอกเล่าพูดคุยกันแบบหนักบ้างเบาบ้างในสไตล์กระตุกต่อมคิด เปิดตัวตอนแรกด้วยเรื่องของเทคโนโลยี AI และ Robot ที่คืบคลานเข้ามาแทนที่การทำงานของมนุษย์ ไม่พ้นแม้แต่ในวงการการศึกษาของโลกตะวันตก และใช่ว่าในเมืองไทยจะหลีกหนีกระแสนี้พ้น แพท ยงค์ประดิษฐ์ ผู้บริหารของ Code.org บอกว่า ที่ผ่านมาเด็กๆ เรียนรู้การใช้โปรแกรมพื้นฐานอย่างพวก Microsoft Office อยู่แล้ว แต่พวกเขาไม่เคยเรียนวิธีสร้างแอพพลิเคชั่น วิธีสร้างเกม หรือวิธีทำงานกับหุ่นยนต์ ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการทำงานในอนาคต สิ่งสำคัญคือ ทักษะเหล่านี้ไม่สามารถเกิดโดยการเรียนแบบท่องจำ แต่วิธีการเรียนรู้ในห้องเรียนก็จะต้องเปลี่ยนด้วย โดยครูกลายเป็นผู้อำนวยความสะดวกและเรียนรู้ไปพร้อมกับเด็กๆ Computer Science เป็นศาสตร์ที่เหมาะกับยุคสมัย คือไม่ต้องอาศัยการท่องจำ แต่เรียนรู้คอนเซ็ปต์ วิธีคิด แล้วก็สร้างอะไรใหม่ๆ ขึ้นมาจากสิ่งเหล่านั้น จะปรับวิธีการเรียนรู้เพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลง หรือรอคอยให้การเปลี่ยนแปลงเข้ามาบีบให้เราต้องเปลี่ยน?
-
Coming To Talk EP.16 อำนาจและการกดขี่ การเรียนรู้เรื่องเพศของวัยรุ่น
22/11/2018 Duração: 01h07minวิภาพรรณ วงษ์สว่าง หรือ นานา ผู้ก่อตั้งเพจ Thaiconsent และเว็บไซต์ thaiconsent.org แหล่งข้อมูลเรื่องเพศสำหรับวัยรุ่น ซึ่งไม่ใช่ความรู้เรื่องเพศศึกษาแบบฉบับทางการ แต่เนื้อหาของเพจและเว็บนี้ได้ขยับเพดานมุมมองการเรียนรู้และการทำความเข้าใจเรื่องเพศในมิติที่หลากหลายลึกซึ้ง กลายเป็นแรงดึงดูดเชิญชวนให้ผู้คนเข้ามาแลกเปลี่ยนความคิด ตั้งคำถาม รวมถึงแบ่งปันประสบการณ์ แตกต่างไปจากสื่อความรู้เรื่องเพศโดยทั่วไปที่วนเวียนอยู่เพียงแค่เรื่องการดูแลสุขลักษณะและความสุขทางเพศของปัจเจกบุคคล สาวน้อยวัย 26 ได้ชี้ให้เห็นประเด็นปัญหาการเรียนรู้เรื่องเพศของวัยรุ่นในสังคมไทย ที่สะท้อนถึงการใช้อำนาจของผู้ใหญ่ ความไม่เท่าเทียมทางเพศ และเมื่อสาวลงลึกก็ไปแตะถึงโครงสร้างทางสังคมการเมืองที่ผู้ใหญ่มีบทบาทครอบงำ ซึ่งเธอบอกว่าทางออกของปัญหานี้อาจจะต้อง “รื้อทิ้งแ-งทั้งหมด!” การแสดงความคิดเห็นเชิงวิพากษ์ที่ร้อนแรงแหลมคมตรงไปตรงมา ผ่านแววตาที่จริงจัง และน้ำเสียงฉะฉานเรียบคมชัดเจน คลอเสียงหัวเราะบางจังหวะ อาจบ่งบอกได้ถึงอารมณ์ของยุคสมัยที่อยากเห็นการเปลี่ยนแปลง โดยตัวเธอเป็นเสมือนสื่อกลางส่งผ่านความรู้สึกของวัยรุ่นที่กำลังอึดอัดคับข้อง อยากได้ร
-
readWORLD EP.35 Ideas Box กล่องความรู้เพื่อโลกที่เท่าเทียม
16/11/2018 Duração: 25minLibraries Without Borders (LWB) เป็นองค์กรไม่แสวงหากำไรระดับนานาชาติที่ทำงานด้านส่งเสริมการศึกษา มุ่งขจัดอุปสรรคในการเข้าถึงความรู้และสารสนเทศ โครงการสำคัญของ LWB คือ Ideas Box หรือ "กล่องความรู้เคลื่อนที่" เป็นห้องสมุดขนาดจิ๋วในหีบเหล็ก 2 ใบ สามารถถอดประกอบติดตั้งและเคลื่อนย้ายได้ง่าย มีระบบเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียม เครื่องคอมพิวเตอร์พกพา 4 เครื่อง แท็บเล็ตจอสัมผัส 15 เครื่อง เครื่องอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 50 เครื่อง หนังสือ 300 เล่ม เกม วิดีโอเกม และของเล่น เนื้อหาการเรียนรู้ถูกปรับตามภาษาของผู้ใช้บริการ ตามความต้องการและวัฒนธรรมของชุมชน Ideas Box เน้นไปยังพื้นที่ซึ่งผู้คนขาดแคลนโอกาสเข้าถึงหนังสือและสื่อ เพื่อเพิ่มประสบการณ์จากการอ่านและการเรียนรู้ด้วยตนเอง ไม่ว่าจะเป็นซอกหลืบของเมืองใหญ่ในประเทศพัฒนาแล้ว รวมไปถึงค่ายผู้ลี้ภัยทั่วโลก ซึ่งผู้คนมีชีวิตอยู่อย่างไร้ความหวังและไม่เคยได้รับการศึกษาหรือเข้าถึงหนังสือเลยสักเล่ม ถึงแม้ว่ากล่องแต่ละใบจะมีรูปแบบโครงสร้างตามมาตรฐานเดียวกัน แต่ถูกปรับให้สอดคล้องตามบริบทและวัตถุประสงค์ของแต่ละพื้นที่ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว จึงสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ห
-
readWORLD EP.34 เบื้องหลังความสำเร็จของห้องสมุด DOKK1 เดนมาร์ก
08/11/2018 Duração: 40minรอล์ฟ เฮเพล ผู้อำนวยการห้องสมุด DOKK1 แห่งเมืองอาร์ฮุส ประเทศเดนมาร์ก ถอดบทเรียนการดำเนินงานกว่า 15 ปีนับตั้งแต่เมื่อครั้งริเริ่มแนวคิดจัดตั้งจนกระทั่งเปิดให้บริการห้องสมุด DOKK1 ในปี 2015 นี่คือบทสรุปจากการวิเคราะห์โดยหนึ่งในบุคคลที่เกี่ยวข้องใกล้ชิดกับโครงการนี้มากที่สุด เพื่ออธิบายถึงสาเหตุแห่งความสำเร็จอันน่าเหลือเชื่อของห้องสมุดประชาชนยอดเยี่ยมประจำปี 2016 สกัดเป็นองค์ความรู้ที่มาความสำเร็จของห้องสมุดแห่งนี้เอาไว้ 7 ประการ
-
Coming To Talk EP.15 อ่านแบบ “เดย์ ฟรีแมน” อ่านแล้วคิด ตั้งคำถาม หาคำตอบ และตีความ
01/11/2018 Duração: 53minบนเวทีเสวนา “เสียงที่ไม่ (เคย) ได้ยิน ภาคประชาชน” ในงานมหกรรมหนังสือระดับชาติที่ผ่านมา เดย์ ฟรีแมน เป็นหนึ่งในผู้พูดวันนั้นซึ่งกล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า "เวลาที่รัฐบาลพูดเรื่องวาระการอ่าน หรือส่งเสริมการอ่าน ยังไม่เคยเห็นอะไรที่เป็นรูปธรรมเลยว่า จะทำอย่างไร เพราะการอ่านจะมาส่งเสริม เป็นวาระ เป็นเทศกาลแบบเทศกาลเบียร์ เทศกาลกินเจ 5 วัน 7 วัน มันไม่ได้ การอ่านมันเหมือนเรากินข้าว เราต้องอ่านทุกวัน ไม่ใช่เทศกาล ฤดูกาล หรืองานกินเจ" นี่คือข้อความสะดุดใจที่ทำให้เราต้องขอนัดสัมภาษณ์เธอเกี่ยวกับเรื่องหนังสือและการอ่าน ไม่ใช่เพื่อตอกย้ำการวิพากษ์วิจารณ์ใครหรือหน่วยงานใด แต่เพื่อบอกเล่าความคิดเห็นของเธอที่มีต่อการอ่าน และสิ่งที่หนังสือส่งผลต่อชีวิตของคนๆ หนึ่ง - คนซึ่งถูกเรียกขานว่า LGBT
-
readWORLD EP.33 มหาวิทยาลัยต้องเปลี่ยนแปลงเป็นพื้นที่เพื่อการเรียนรู้สาธารณะ
25/10/2018 Duração: 33minห้องสมุดมหาวิทยาลัยพยายามเปลี่ยนผ่านจากบทบาทดั้งเดิมในฐานะคลังสารสนเทศและทรัพยากรเพื่อการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของปัจเจก เป็นสถานที่เพื่อพบปะ ร่วมมือ และมีปฏิสัมพันธ์ในกระบวนการเรียนรู้ที่มีพลวัต สถาบันการศึกษากำลังจะเพิ่มพื้นที่เพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองที่ไม่ถูกจำกัดโดยโครงสร้างและวัตถุประสงค์แบบเฉพาะเจาะจง เส้นแบ่งอาณาเขตระหว่างพื้นที่เชิงวิชาการและพื้นที่เพื่อพบปะสังสรรค์จะชัดเจนน้อยลง พื้นที่ผสม (hybrid spaces) ในมหาวิทยาลัยกำลังเพิ่มขึ้น โดยสภาพแวดล้อมสำหรับการพบปะสังสรรค์/การเรียนรู้/การปฏิบัติงาน เกิดความทับซ้อนกันและมีการจัดองค์ประกอบใหม่ เพื่อตอบสนองความต้องการอันแตกต่างและสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือและการพบปะแลกเปลี่ยนระหว่างบุคลากร นักศึกษา และนักวิจัยจากต่างสาขาวิชา รวมทั้งหน่วยงานเอกชน และชุมชน
-
readWORLD EP.32 ผลของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านจอต่อเด็กและวัยรุ่น
18/10/2018 Duração: 01h28minบอกเล่าพูดคุยเนื้อหาจากหนังสือของ รศ.นพ.วีระศักดิ์ ชลไชยะ และคณะ ซึ่งนับว่าเป็นหนังสือภาษาไทยเล่มแรกที่ได้รวบรวมองค์ความรู้ด้วยวิธีการศึกษาข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์ จากการติดตามกลุ่มตัวอย่างอาสาสมัครตั้งแต่อายุ 6 เดือนต่อเนื่องไปจนถึงอายุ 5-6 ปี เพื่อสรุปวิเคราะห์ถึงผลของการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านจอและข้อเสนอแนะการใช้งานที่เหมาะสม โดยมีกรอบกรณีศึกษาถึงผลของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านจอใน 6 เรื่องสำคัญได้แก่ การทำหน้าที่บริหารของสมองระดับสูง (EF) พัฒนาการกับการเรียนรู้ พฤติกรรม การนอนหลับ สุขภาพจิต และการข่มเหงรังแกในโลกไซเบอร์ (Cyberbullying) ส่วนหนึ่งของบทสรุปเชิงข้อเสนอแนะในงานวิจัยนี้ อาทิ เด็กแรกเกิดจนถึงอายุ 18 เดือนต้องหลีกเลี่ยงการเลี้ยงดูที่มีการใช้หน้าจอทั้งหมด เด็กอายุ 18-24 เดือนควรใช้เวลาส่วนใหญ่กับกิจกรรมที่ปราศจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านจอ หากใช้ต้องเป็นสื่อการศึกษาที่มีคุณภาพ ระยะเวลาสั้นๆ และพ่อแม่ดูไปพร้อมกันกับลูก เด็กอายุ 2-5 ปีใช้สื่อได้ไม่เกินวันละ 1 ชั่วโมง เด็กอายุ 6-12 ปี ใช้สื่อแบบมีเงื่อนไขเช่น ไม่ใช้ในห้องนอน โต๊ะอาหาร หรือขณะมีปฏิสัมพันธ์กับครอบครัว วัยรุ่นใช้ไม่เกินวันละ 2 ชั่วโมง แยกออ
-
readWORLD EP.31 100 หนังสือดี 14 ตุลาที่ควรอ่าน
11/10/2018 Duração: 01h03min‘โครงการ 100 หนังสือดี 14 ตุลาที่ควรอ่าน’ เกิดขึ้นจากการจัดงานฉลอง 40 ปี 14 ตุลา เมื่อปี พ.ศ. 2556 โดยรวบรวมรายชื่อหนังสือที่ช่วยสร้างความเข้าใจและตระหนักรู้เกี่ยวกับเรื่องราวเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 เพื่อส่งเสริมให้ผู้อ่านเกิดแรงจูงใจแสวงหาผลงานคุณภาพที่ยังพอจะเข้าถึงได้ ไม่ว่าจะด้วยการซื้อหาหรือหยิบยืมจากห้องสมุด และมุ่งหวังให้เป็นแหล่งข้อมูลสนับสนุนแก่ครูหรือบรรณารักษ์ไว้ใช้สืบค้นอ้างอิงสำหรับจัดการเรียนการสอนและจัดกิจกรรมในโรงเรียนหรือห้องสมุด ตลอดจนกระตุ้นให้มีการจัดพิมพ์หนังสือดีที่ขาดหายไปในท้องตลาดขึ้นใหม่
-
readWORLD EP.30 อ่านออก เขียนได้ คิดเลขเป็น ยังไม่พอ! ต้องเขียนโค้ดเป็นด้วย!!
01/10/2018 Duração: 32minการเขียนโค้ดหรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์กำลังจะเป็นทักษะพื้นฐานที่ใครๆ ต่างก็นำมาใช้เพื่อการริเริ่มและสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัว เปรียบเป็น ‘การรู้หนังสือด้านที่ 4’ นอกเหนือไปจากทักษะการอ่าน การเขียน และการคิดคำนวณ เด็กที่เกิดและเติบโตขึ้นมาในสิ่งแวดล้อมแบบดิจิทัล หรือ Digital Native จะมีศักยภาพเรียนรู้ทักษะการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้ตั้งแต่อายุประมาณ 7 ขวบ โค้ดดิ้งจึงกลายเป็นความรู้สามัญที่โรงเรียนทั้งโลกต้องปรับตัวและเพิ่มการเรียนรู้ประเภทนี้เข้าไว้ในระบบการเรียนการสอน หลายประเทศตื่นตัวตอบรับความเปลี่ยนแปลงและบรรจุวิชาวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ไว้ในหลักสูตรตั้งแต่ระดับประถม ในขณะที่การเรียนรู้นอกระบบโรงเรียนต่อเรื่องการเขียนโค้ดก้าวไปไกลกว่าอย่างนึกไม่ถึง ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ รวมไปถึงการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือโค้ดดิ้ง ไม่ใช่เป็นเพียงแค่เรื่องของการบ่มเพาะอาชีพในสายงานดิจิทัลเสมอไป เด็กบางคนอาจเติบโตไปค้นพบตนเองและประกอบอาชีพอื่นที่หลากหลาย แต่ในกระบวนการเรียนรู้เรื่องโค้ดดิ้งนั้น พวกเขาได้รับส่งเสริมปลูกฝังทักษะที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 ไปเรียบร้อยแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการคิดวิเ
-
Coming To Talk EP.14 ปลูกฝังพืชพันธุ์รักการอ่าน ให้หยั่งรากระบัดใบในระนอง
20/09/2018 Duração: 02h30minกลุ่มระบัดใบ สร้างชื่อให้รู้จักในแวดวงส่งเสริมการอ่านจากโครงการกล่องหนังสือเคลื่อนที่ ซึ่งหมุนเวียนหนังสือระหว่างโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจนเกิดต้นกล้านักอ่านกระจายไปทั่วจังหวัดระนอง อีกทั้งยังสร้างเครือข่ายองค์กรและบุคคลที่ทำงานด้านเด็กให้เกิดการเชื่อมร้อยกันได้อย่างกว้างขวาง ผลลัพธ์ของโครงการซึ่งมีเป้าหมายอยู่ที่การเข้าถึงหนังสือและการอ่าน จึงไม่เพียงทำให้เด็กๆ ที่ได้อ่านหนังสือ เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ชัดเจน เช่น ลดความก้าวร้าว สมาธิดีขึ้น และกล้าแสดงออก แต่ยังส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทัศนคติของครูผู้สอนทั้งที่อยู่ในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ผู้บริหารองค์กรปกครองท้องถิ่น และบุคลากรวิชาชีพอื่นๆ ที่เข้าร่วมกระบวนการส่งเสริมการอ่านในกลุ่มเด็กปฐมวัย เกิดเข็มมุ่งอย่างชัดเจนในการร่วมมือพัฒนาเด็กๆ ของระนอง สู่การเติบโตเป็นเยาวชนพลเมืองที่เข้มแข็งและมีคุณภาพ
-
readWORLD EP.29 8 ห้องสมุดสแกนดิเนเวีย การออกแบบบริการและพื้นที่สาธารณะเพื่อตอบโจทย์สังคมเมือง
13/09/2018 Duração: 31minในขณะที่ห้องสมุดหลายประเทศทั่วโลกกำลังกังวลว่า ยุคดิจิทัลที่กำลังมาถึงจะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการอ่าน เมื่อคนใช้บริการลดลงในที่สุดห้องสมุดก็จะตาย แต่ห้องสมุดของกลุ่มประเทศสแกนดิเนเวียกลับมีสมมุติฐานที่แตกต่างออกไป โดยมองว่าพฤติกรรมและความต้องการของผู้ใช้บริการนั้นมีความหลากหลาย และสามารถเปลี่ยนแปลงไปตามบริบทของสังคมได้เป็นธรรมดา หากห้องสมุดไม่ได้มีนิยามเพียงสถานที่เก็บรักษาหนังสือ ก็ควรวิเคราะห์ปัญหาและมีบทบาทเติมเต็มสิ่งที่ยังขาดหายไปของสังคม สิ่งสำคัญคือการพร้อมที่จะเปิดรับกับการปรับเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายเหล่านั้น แม้จะเป็นบทบาทที่ยังไม่เคยทำมาก่อนก็ตาม