Informações:
Sinopse
21
Episódios
-
Coming To Talk EP.35 เมื่อตัวตนและองค์ความรู้ “ชาวบ้าน” ปรากฏอยู่ในงานวิจัย
04/12/2019 Duração: 58minชาวบ้านก็ทำวิจัยได้! โดยทั่วไป งานวิจัยมักเป็นเรื่องของนักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญ มีกรอบความคิดทฤษฎี เครื่องมือการสำรวจวิจัย การประมวลผล รูปแบบวิธีการเขียนและเรียบเรียง การให้เหตุผลที่เป็นระบบระเบียบ มีการอ้างอิงตำรับตำราความรู้หรือข้อมูลจากงานวิจัยอื่นเทียบเคียง สุดท้ายคือการวิเคราะห์และข้อเสนอแนะ แม้ว่าโครงสร้างหลักๆ ของวิธีวิทยาในการวิจัยจะมิได้เปลี่ยนแปลงมากนัก ทว่าผลกระทบจากปัญหาต่างๆ ทางสังคมที่ซับซ้อนมากขึ้น องค์ความรู้ในการอธิบายพฤติกรรมทางสังคมก็เริ่มมีความหลากหลายและเกิดการบูรณาการข้ามสาขา เพื่อที่จะเข้าถึงและเข้าใกล้ความจริงให้มากที่สุด ทำให้กระบวนการวิจัยที่มี ‘นักวิจัย’ เป็นองค์ประธาน เริ่มเปลี่ยนแปลงไป “งานวิจัยไทบ้าน” คือรูปธรรมของการเปลี่ยนแปลงวิธีวิทยาในงานสำรวจวิจัย เมื่อ ‘ชาวบ้าน’ ปรากฏตัวเป็นทั้งผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ความรู้ ผู้สร้างความรู้ กระทั่งเป็นผู้เรียนรู้ร่วมกันกับนักวิจัย ผลงานวิจัยที่สำเร็จออกมาจึงสะท้อนให้เห็นลงลึกถึงรากเหง้าปัญหา ไม่ใช่เพียงข้อมูลและงานเขียนที่แห้งแล้งซึ่งสกัดเอาทุกข์สุขของคนออกไปเพื่อความบริสุทธิ์ผุดผ่องทางวิชาการ แต่เป็นงานวิชาการที่ประกอบร่างจากวิถีชีวิตผู้ค
-
Read Around EP.13 100 นวนิยายเปลี่ยนโลก
28/11/2019 Duração: 28minRead Around EP.13 100 นวนิยายเปลี่ยนโลก สรุปข่าวสารเรื่องราวเด่นในแวดวงการอ่านและการเรียนรู้ทั้งของไทยและต่างประเทศ ในรอบเดือนพฤศจิกายน 62 พบกับเรื่อง… • 100 นวนิยายเปลี่ยนโลก บีบีซีร่วมกับองค์กร Libraries Connected คัดสรรรายชื่อนวนิยาย 100 เล่มที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงโลก โดยห้องสมุดในอังกฤษจะนำรายชื่อหนังสือไปใช้ในการจัดกิจกรรมตลอดปี 2020 • IoT เปลี่ยนห้องสมุดได้อย่างไร ห้องสมุดในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปไกลด้วยอิทธิพลของเทคโนโลยี ซึ่งสามารถช่วยพัฒนาการให้บริการ ทรัพยากร และประสบการณ์ของผู้ใช้บริการ เทคโนโลยีหนึ่งที่น่าจับตามองคือการเปลี่ยนแปลงจาก ‘Internet of Communication’ ไปสู่ ‘Internet of Things’ หรือ IoT • อ่านเรื่องผีฝีมือ AI ฮัลโลวีนปีนี้มนุษย์มีโอกาสได้อ่านวรรณกรรมผีสำนวนดีที่แยกไม่ออกเลยว่าเป็นผลงานการเขียนของปัญญาประดิษฐ์ มีการคาดการณ์ว่าภายใน 10 ปี AI จะสามารถเขียนรายงานได้เทียบเท่าเด็กมัธยมปลาย และภายใน 25 ปี จะสามารถเขียนงานระดับ Bestseller ได้เลยทีเดียว • รายงานยูนิเซฟระบุเด็กไทยร้อยละ 22 เผชิญกับความยากจนซึ่งส่งผลต่อสุขภาพ การศึกษา และพัฒนาการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เด
-
Coming To Talk EP.34 ณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร ถอดบทเรียนการบริหาร ‘ปฏิบัติการ 13 หมูป่า หยุดโลก’
21/11/2019 Duração: 01h07minเมื่อพูดถึงปฏิบัติการช่วยชีวิต 13 หมูป่า ออกจากถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน คงยากที่จะปฏิเสธว่าหนึ่งในฮีโร่ที่มีคนจดจำได้มากที่สุดคือ ณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย (ในขณะที่รับผิดชอบเป็นหัวหน้าทีมปฏิบัติการกู้ภัย เขาก็เป็นอดีตผู้ว่าฯ เชียงราย ไปแล้วจากคำสั่งโยกย้ายที่ออกมาก่อนหน้า) ต่อให้มีคนเห็นแย้งและบอกว่าฮีโร่ตัวจริงนั้นคือจ่าสมาน (น.ต. สมาน กุนัน อดีตหน่วยซีล ซึ่งเสียชีวิตในระหว่างปฏิบัติการ) ต่างหาก บ้างก็บอกว่าคือชาวบ้านที่ยินยอมให้ที่ดินของตนเป็นพื้นที่รับน้ำปริมาณมหาศาลที่สูบจากถ้ำมาปล่อยท่วมไร่นาจนผลผลิตเสียหาย ด้วยเหตุผลเรียบง่ายไม่ซับซ้อนเพียงแค่ว่าต้องการให้เด็กๆ รอดออกมาอย่างปลอดภัย แน่นอนว่าทุกผู้คนที่เอ่ยถึงไม่ว่าจะในมิติการมองแบบใดล้วนแล้วแต่สมควรได้รับการยกย่อง แต่เรื่องของ 13 หมูป่านั้นไม่เกี่ยวกับประเด็นว่าใครคือฮีโร่ เพราะบทเรียนแง่คิดและคุณค่าจากเหตุการณ์นี้ใหญ่โตลึกซึ้งยิ่งกว่า หาใช่เรื่องชื่อเสียงความโด่งดังอันเป็นเพียงแค่ ‘เปลือก’ หรือ ‘กระพี้’ เท่านั้น บทเรียนหนึ่งซึ่งนำมาใช้เป็นแนวทางปฏิบัติได้กับการทำงานแทบทุกเรื่อง คือหลักการบริหารและการตัดสินใจบนความเสี่ยง เป็นส
-
Coming To Talk EP.33 หยิบของเล่นมาเรียน จับความรู้ไปเล่น
14/11/2019 Duração: 01h11minจะเรียก “พิพิธภัณฑ์เล่นได้” หรือ “โรงเล่นเรียนรู้” อย่างไรก็ได้ คนริเริ่มอย่าง วีรวัฒน์ กังวานนวกุล มิได้ขัดข้อง เพราะแก่นของแหล่งเรียนรู้แห่งนี้หาใช่พื้นที่เก็บของสะสมให้นอนตายซากรอคนเข้ามาชม หากแต่เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีความเชื่อว่า ‘การเรียนกับการเล่นเป็นเรื่องเดียวกัน’ ดังนั้น พื้นที่นี้จึงมีชีวิตชีวาด้วยกิจกรรมกระบวนการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการคิด การแก้ปัญหา การสร้างสรรค์ ซึ่งใช้การเล่นหรือของเล่นเป็น “เครื่องมือ” นำไปสู่การค้นพบ “ประสบการณ์ใหม่” หรือความรู้ที่เกิดขึ้นจากการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง การเลือกวิธีการศึกษาแบบ ‘บ้านเรียน’ หรือ Home School ให้กับลูกชายทั้งสอง สะท้อนถึงความเชื่อในเรื่องเสรีภาพและการทำงานเป็นเครือข่าย ขณะที่งานของเขาจะเน้นการเชื่อมโยงเรื่องของการเรียนรู้ การเล่น การศึกษา ทุนทางสังคม และเครื่องมือชุมชน ให้ถักทอเป็นเนื้อเดียวกัน ตัวอย่างเช่น การรวบรวมภูมิปัญญาของเล่นพื้นบ้านในชุมชนอำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย มาถ่ายทอดเป็นความรู้ในการประดิษฐ์ของเล่นเหล่านี้จนฟื้นคืนชีวิตขึ้นมาใหม่ หรือเมื่อเร็วๆ นี้ก็เพิ่งจะสร้างโรงประกอบฝัน เป็นเมกเกอร์สเปซให้กับกลุ่มเด็กโตหรือคนวัยหนุ่มสาวที่สนุ
-
Coming To Talk EP.32 ‘กาแฟดอยช้าง’ เมล็ดพันธุ์จากความรัก คั่วอบด้วยความรู้ กรุ่นกลิ่นไอแห่งความหวัง
07/11/2019 Duração: 56minชื่อเสียงและความสำเร็จของกาแฟดอยช้างนั้นสามารถพูดถึงได้ซ้ำแล้วซ้ำอีก ในฐานะตัวอย่างธุรกิจไทยที่เริ่มต้นด้วยเรื่องราวของปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำ ขายไม่ได้ แต่ด้วยสไตล์การทำงานที่มีความมุมานะไม่ย่อท้อและวิธีคิดแบบมองโลกในแง่ดี ใช้ความรู้แก้ไขปัญหา และใช้ปัญหามาต่อยอดเป็นความรู้ใหม่ ตลอดจนการสร้างพันธมิตรธุรกิจ การทำงานแบบเครือข่าย และใช้วิธีการบริหารในรูปวิสาหกิจชุมชน โดยเปิดให้เกษตรกรมีหุ้นส่วนหรือเป็นเจ้าของและเข้ามามีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน ท้ายที่สุด ไร่กาแฟและกิจกรรมต่อเนื่องได้กลายเป็นเนื้อเดียวกับชีวิตความเป็นอยู่ของผู้เพาะปลูก เกิดเป็นการอยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืน หนึ่งในผู้ร่วมบุกเบิกก่อตั้ง ปณชัย พิสัยเลิศ หรือ ‘อาเดล’ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดอยช้าง คอฟฟี่ ออริจินอล จำกัด เปิดใจพูดคุยอย่างเป็นกันเอง และย้ำว่าพื้นภูมิความเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ไม่เคยทำให้รู้สึกด้อยค่าหรือแตกต่างจากคนอื่น เพราะจุดมุ่งหมายและความคาดหวังคือการทำให้พี่น้องชาวเขามีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยการใช้ความรู้สร้างรายได้จากผืนดิน ซึ่งเป็นทรัพย์สินสำคัญเพียงอย่างเดียวที่ไม่มีใครแย่งยึดไปได้ ยิ่งความรู้นั้นมาจาก “พันธุ์กาแฟพระราช
-
Read Around EP.12 ประกาศแล้ว 2 นักเขียนโนเบลสาขาวรรณกรรม และรางวัลงานวิจัยแหวกขนบ “อิกโนเบล”
31/10/2019 Duração: 37minสรุปข่าวสารเรื่องราวเด่นในแวดวงการอ่านและการเรียนรู้ทั้งของไทยและต่างประเทศ ในรอบเดือนตุลาคม 62 พบกับเรื่อง… • ประกาศแล้ว 2 นักเขียนรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม และรางวัลงานวิจัยแหวกขนบเรียกอารมณ์ขัน “อิกโนเบล” ช่วงปลายปีของทุกปีเป็นเทศกาลประกาศ “รางวัลโนเบล” รางวัลที่ยิ่งใหญ่ระดับโลกให้กับผู้มีคุณูปการในศาสตร์สาขาต่างๆ ตามมาด้วยรางวัล “อิกโนเบล” ซึ่งเบื้องหลังความขำมีความสร้างสรรค์ซ่อนอยู่ • นโยบายการพัฒนาสังคมด้วยศิลปะของสิงคโปร์ จาก “ทะเลทรายวัฒนธรรม” เมื่อ 20 ปีก่อน วันนี้สิงคโปร์กลายเป็นเกาะที่อุดมไปด้วยศิลปะ นี่ไม่ใช่เหตุบังเอิญ แต่มาจากการผลักดันของภาครัฐและหลายฝ่ายอย่างจริงจัง • ชวนทำความรู้จักพิพิธภัณฑ์ออนไลน์ไทยและเทศ ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทำให้เราชมชิ้นงานดีๆ ในพิพิธภัณฑ์ได้โดยไม่ต้องก้าวขาออกจากบ้าน ดังเช่น “พิพิธภัณฑ์สามัญชน” และ “Google Arts & Culture”
-
Coming To Talk EP.31 "ดอนแก้วรักการอ่าน" ชุมชนต้นแบบที่ส่งเสริมให้การอ่านเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต
24/10/2019 Duração: 21minเมื่อกล่าวถึงงานด้านส่งเสริมการอ่าน คนส่วนใหญ่น่าจะนึกถึงบทบาทของหน่วยงานด้านการศึกษา เช่น โรงเรียน ห้องสมุดประชน หรือหน่วยงานต่างๆ ของรัฐ แต่กรณีของชุมชนดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ คุณค่าของการอ่านเป็นเรื่องที่ชุมชนตระหนักและร่วมกันสร้างกลไกและกระบวนการส่งเสริมให้คนทุกเพศทุกวัยใช้ประโยชน์จากการอ่าน ค้นคว้า และเรียนรู้ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต สนทนากับคุณหล้า ธนิชา ธนะสาร ประธานกลุ่มเพียงพอดี และผู้ใหญ่บ้านหมู่ 10 ตำบลดอนแก้ว หญิงเก่งผู้ประสานความร่วมมือจากองค์กรต่างๆ ทั่วทุกสารทิศ จนเกิดโครงการส่งเสริมการอ่านในชุมชนอย่างต่อเนื่องมาเกือบสิบปี และนำพาให้ดอนแก้วกลายเป็นชุมชนต้นแบบด้านส่งเสริมการอ่าน จนจุดประกายให้กับชุมชนอื่นอีกหลายแห่งในการนำบทเรียนความสำเร็จไปต่อยอดขยายผล
-
Coming To Talk EP.30 ห้องสมุดรังไหม สายใยแห่งศรัทธา ความปรารถนาดีข้ามพรมแดน
17/10/2019 Duração: 01h06minโยชิมิ โฮริอุจิ หญิงสาวตาบอดชาวญี่ปุ่น เริ่มต้นจากความหลงใหลในภาษาไทย นำมาสู่การรู้จักคนไทย เรียนรู้เรื่องราวสังคมไทย กลายเป็นความผูกพันจนถึงกับลงทุนลงแรงสร้างสรรค์ห้องสมุดสุดน่ารักที่อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ดินแดนซึ่งแสนจะห่างไกลจากบ้านเกิดที่เธอคุ้นเคย ‘ห้องสมุดรังไหม’ มีทุกสิ่งเช่นที่ห้องสมุดทั่วไปควรจะเป็น แต่ที่เหนือยิ่งไปกว่านั้นคือความรักความศรัทธาต่อหนังสือและการอ่าน ด้วยความเชื่อว่าการอ่านหนังสือนั้นสามารถเปลี่ยนชีวิต เปลี่ยนสังคม และเปลี่ยนแปลงโลกได้ ความบกพร่องในการมองเห็นหาใช่อุปสรรคของชีวิต เพราะศรัทธาและความมุ่งมั่นนั้นมีพลังยิ่งใหญ่เกินกว่าจะมาเสียเวลาไปกับการพร่ำบ่นสิ้นหวังฟูมฟายกล่าวโทษโชคชะตา
-
Coming To Talk EP.29 หลัง 6 ตุลา : จากพนาสู่นาคร สานต่อปณิธานผู้วายชนม์
10/10/2019 Duração: 01h38minตอนที่ 2 ของบทสัมภาษณ์ สินธุ์สวัสดิ์ ยอดบางเตย ผู้ได้รับรางวัลศรีบูรพา ประจำปี 2562 กับชีวิตในเขตป่าเขา บริเวณดอยยาวดอยผาหม่น จังหวัดเชียงราย ติดพรมแดนลาว และเรื่องราวหลังออกจากป่ากลับมาใช้ชีวิตในเมือง ภายหลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 อาจเรียกได้ว่า มีคนไม่มากนักที่มีโอกาสได้รู้จักและช่วยเหลืองานให้กับบุคคลสำคัญ แต่ช่วงแห่งชีวิตของสินธุ์สวัสดิ์กลับได้พบและทำงานอย่างใกล้ชิดกับ ครูองุ่น มาลิก ผู้เป็นครู อาจารย์ ผู้สื่อข่าว นักเขียน และนักต่อสู้เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับชาวนาชาวไร่ผู้ถูกเอารัดเอาเปรียบ (ในช่วงเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 เธอถูกจับและควบคุมตัวในข้อหาภัยสังคม) ได้พบกับท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ ภริยารัฐบุรุษอาวุโสและอดีตนายกรัฐมนตรี นายปรีดี พนมยงค์ รวมถึงบุตรีทั้งสามของท่าน ได้แก่ สุดา-วาณี-ดุษฎี พนมยงค์ และพบกับ ชนิด สายประดิษฐ์ (เจ้าของนามปากกา ‘จูเลียต’ ผู้แปลหนังสือ “เหยื่ออธรรม”) ภรรยาของ กุหลาบ สายประดิษฐ์ หรือ “ศรีบูรพา” นักคิดนักเขียนนักหนังสือพิมพ์คนสำคัญ เขากลายเป็นผู้สืบสานแนวคิดและงานของบุคคลเหล่านี้ในเวลาต่อมาในสถานภาพต่างๆ อาทิ กรรมการมูลนิธิไชยวนา ผู้จัดการสถาบันปรีดี พนมยงค์ เป็นห
-
Coming To Talk EP.28 14 ตุลา 16 และ 6 ตุลา 19 : ฉากชีวิต ความทรงจำ คำบอกเล่า
02/10/2019 Duração: 02h11minสินธุ์สวัสดิ์ ยอดบางเตย ผู้ซึ่งไม่เรียกตนเองว่าเป็นศิลปิน แต่เป็นผู้สร้างสรรค์งานศิลปะ ดำเนินชีวิตเคียงคู่ไปกับการเคลื่อนไหวภาคประชาชนมาอย่างยาวนานกว่า 40 ปี เปิดใจให้สัมภาษณ์ถึงชีวิตของเขาตั้งแต่ครั้งเป็นนักเรียนเพาะช่าง จากนั้นก็วนเวียนเกี่ยวพันอยู่กับช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อและการเปลี่ยนผ่านทางการเมืองไทยครั้งสำคัญในปี 2516 และ 2519 นี่คือบันทึกปากคำประวัติศาสตร์จากความทรงจำของผู้รู้เห็น ในมุมมองของคนเล็กๆ คนหนึ่งท่ามกลางผู้คนเรือนแสนในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 หนึ่งในหน่วยรักษาความปลอดภัย ‘กนก 50’ ที่ตรึงกำลังให้ความคุ้มกันรถบัญชาการที่มี เสกสรรค์ ประเสริฐกุล แกนนำนักศึกษาคนสำคัญอยู่บนรถ และเป็นประจักษ์พยานในช่วงชุลมุนของเช้าตรู่วันที่ 14 ตุลาคม หน้าวังสวนจิตรลดา ซึ่งนำมาสู่การจลาจลแผ่ไปทั่วเมืองหลวง สุดท้ายเผด็จการคณาธิปไตยก็ล้มครืน บรรยากาศประชาธิปไตยหลังเหตุการณ์ 14 ตุลา และความรุนแรงทางการเมืองหลังจากนั้น จนมาถึงเช้าวันพุธที่ 6 ตุลาคม 2519 ถูกถ่ายทอดออกมาราวกับวันวานนั้นเพิ่งผ่านพ้นมาไม่นาน ไม่เพียงเขาจะสูญเสียเพื่อนรักไปหลายคน แต่เหตุการณ์ 6 ตุลา ยังได้พรากเอาความใฝ่ฝันอันบริสุทธิ์ของเยาวชนคนหนุ่มสาวแทบท
-
Read Around EP.11 ภาวะออทิสซึ่มคือพลังวิเศษในการเปลี่ยนแปลงโลกของเกรตา ธันเบิร์ก
26/09/2019 Duração: 37minสรุปข่าวสารเรื่องราวเด่นในแวดวงการอ่านและการเรียนรู้ทั้งของไทยและต่างประเทศ ในรอบเดือนกันยายน 62 พบกับเรื่อง… • ภาวะออทิสซึ่มคือพลังวิเศษในการเปลี่ยนแปลงโลกของเกรตา ธันเบิร์ก ภาวะแอสเพอร์เกอร์ซินโดรม ที่อยู่ในกลุ่มของออทิสซึ่ม มักถูกมองว่าเป็นความผิดปกติหรือความเจ็บป่วยที่ไม่พึงประสงค์ แต่เกรตา ธันเบิร์ก ได้แปรเปลี่ยนมันเป็นพลังในการเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อม จนสั่นสะเทือนผู้ใหญ่และผู้นำประเทศหลายคน • คนไทยรุ่นใหม่เชื่อว่าความรู้และทักษะที่มีวันนี้น่าจะใช้ไปได้ตลอดชีวิต เป็นสถิติที่สูงสุดกว่าประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค สะท้อนถึงการขาดแนวคิดแบบ Growth Mindset หรือกรอบความคิดแบบเติบโต ซึ่งสำคัญยิ่งในโลกที่เราต้องเปลี่ยนแปลงและรู้จักปรับตัวตลอดเวลา • จินตนาการมากมายในการ์ตูนโดราเอม่อน กลายเป็นนวัตกรรมจริงในปัจจุบัน การ์ตูนในดวงใจเด็กหลายล้านคน ที่พาให้ผู้อ่านล่องลอยไปอยู่ในโลกของจินตนาการและสัมผัสความดีงามของเพื่อนมนุษย์ เริ่มวางแผงตั้งแต่ พ.ศ. 2513 นักวิจัยด้านโดราเอม่อนศึกษาได้จัดทำฐานข้อมูลและวิเคราะห์ถึงของวิเศษ ที่วันนี้เกิดขึ้นแล้วจริงๆ • ห้องสมุดที่เวลส์ เปิดให้บริการนอนค้างคืนได้มากว่าร้อยปีแล้ว ห้องสมุดแกล
-
Coming To Talk EP.27 อุบลราชธานี เมืองต้นแบบวัฒนธรรมการอ่าน
19/09/2019 Duração: 31minแม้จะเกษียณอายุไปแล้วกว่าสิบปี อดีต ผอ.กศน.จังหวัดอุบลราชธานี – วิลาวัณย์ ศรศิลป์ ก็ยังคงมีบทบาทสำคัญต่อการส่งเสริมการอ่านของเมืองใหญ่ทางภาคอีสานแห่งนี้ หากปราศจากการริเริ่มและเป็นผู้ประสานความร่วมมือภาคส่วนต่างๆ ทั้งในและนอกจังหวัดอย่างทุ่มเทเอาการเอางาน เราคงไม่ได้เห็นเทศกาลหนังสือต่างจังหวัดแห่งแรกอย่างเช่นงานอุบลบุ๊คแฟร์ หรือ ‘สัปดาห์หนังสือและการเรียนรู้’ เกิดขึ้นและเติบโตอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี ในปีนี้ เธอยังมีส่วนริเริ่มโครงการธนาคารหนังสือ โดยจัดงานวิ่งระดมทุนเพื่อนำมาเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดชุดหนังสือ 3 เล่มสำหรับเด็กเล็ก มอบให้แม่เมื่อนำลูกมาฉีดวัคซีนครั้งแรก จุดประสงค์คือการส่งเสริมให้พ่อแม่ผู้ปกครองใช้หนังสือเป็นสื่อในการพัฒนาสมองของเด็กปฐมวัย เพราะมีผลวิจัยชัดเจนว่าการอ่านหนังสือให้ลูกฟังตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 6 ปี ส่งผลต่อความฉลาดด้านต่างๆ ของเด็กอย่างมีนัยสำคัญ เงินทุนอีกส่วนหนึ่งยังจะนำมาจัดซื้อหนังสือ เพื่อให้โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก กลุ่มหรือชมรมที่สนใจ ยืมไปใช้จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ โดยการจัดชุดหนังสือเป็นเซ็ต เซ็ตละ 50 เล่ม ซึ่งเปรียบเสมือนการมีห้องสมุดเคลื่อนที่ข
-
Coming To Talk EP.26 รื่นรมย์ในสวนอักษรแล้วย้อนมองนักเขียนนักอ่านผ่านสายตา ‘มาโนช พรหมสิงห์’
13/09/2019 Duração: 39minมาโนช พรหมสิงห์ นักเขียนรางวัล ‘รพีพร’ ปี 2551 ซึ่งเป็นรางวัลที่มอบให้กับนักเขียนผู้ผลิตผลงานอย่างต่อเนื่องและยึดอาชีพนักเขียนเพียงอย่างเดียว เปิดบ้านบอกเล่าเรื่องราวการได้สัมผัสกับโลกหนังสือและงานวรรณกรรมระดับโลกตั้งแต่เยาว์วัย อันเป็นเบ้าหลอมสำคัญที่เปลี่ยนแปลงตัวเขาจากนักอ่านมาสู่นักเขียน มุมมองของเขาที่มีต่อวรรณกรรมและการเป็นนักเขียนที่ดีอาจดูเหมือนอุดมคติที่ยากจะไปถึง เพราะต้องฝืนกระแสและเคี่ยวกรำตนเองอย่างหนักเพื่อให้ผลงานสอดคล้องเป็นเนื้อเดียวกันกับวิถีชีวิตและความเชื่อของนักเขียน แต่วัตรปฏิบัติเฉกเช่นที่เขาเป็นอยู่ และผลงานเขียนของเขาที่ออกสู่สายตาสาธารณะ คือหลักฐานบ่งบอกถึงอุดมคตินั้น ปัจจุบัน มาโนช ใช้ชีวิตแบบสงบเรียบง่าย มองการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการอ่านของคนรุ่นใหม่ในแง่ดี และมีความสุขกับบทบาทบรรณาธิการวารสาร “ชายคาเรื่องสั้น” ซึ่งเป็นเวทีของนักเขียนเรื่องสั้น ทั้งหน้าเก่าและใหม่ ในภาวะที่ผู้อ่านหนังสือและผู้เสพงานเขียนประเภทนี้ มีจำนวนลดน้อยถอยลง
-
Read Around EP.10 สมองคนเราตอบสนองต่อการอ่านหนังสือหรือฟังหนังสือเสียงมากกว่ากัน
05/09/2019 Duração: 30minสรุปข่าวสารเรื่องราวเด่นในแวดวงการอ่านและการเรียนรู้ทั้งของไทยและต่างประเทศ ในรอบเดือนสิงหาคม 62 พบกับเรื่อง… • สมองคนเราตอบสนองต่อการอ่านหนังสือหรือฟังหนังสือเสียงมากกว่ากัน • พลิกโฉมการให้บริการภาครัฐด้วยความคิดสร้างสรรค์ • คนไทยใช้โซเชียลมีเดียมาก แต่ยังต้องเรียนรู้การคิดต่างและการใช้เหตุผล • บรรณารักษ์อเมริกันเผชิญความกดดันในการทำงาน ที่ไม่เกี่ยวกับชั้นหนังสือ
-
Coming To Talk EP.25 ตัวตน ความคิด ชีวิตผู้ก่อตั้งร้านหนังสือ ‘ฟิลาเดลเฟีย’
29/08/2019 Duração: 01h07minวิทยากร โสวัตร นักเขียน นักกิจกรรม ผู้ก่อตั้งร้านหนังสือฟิลาเดลเฟีย จังหวัดอุบลราชธานี มาพูดคุยเรื่องกิจกรรมการอ่านและนักเขียนอีสาน พร้อมทั้งวิเคราะห์ถึงความเกี่ยวโยงระหว่าง "การเมือง" กับ “วงการหนังสือ" และ "การอ่านการเขียน" ที่ทำให้เรามองเห็นความสัมพันธ์ของ "หนังสือ" กับ "ปากท้อง" ได้อย่างง่ายๆ แต่ชัดเจนว่าเป็นเรื่องของโอกาสที่ไม่เท่าเทียมกันของคนที่ถูกทำให้ไม่เท่าเทียม เสรีภาพ โอกาส และการมีส่วนร่วมไม่เพียงเป็นสิ่งที่ “กินได้” แต่ยังทำให้ชาวบ้านอีสานสามารถเข้าถึง “ความรู้” ที่เป็นอัตลักษณ์ หลากหลาย เกิดกระบวนการแสวงหาความรู้อย่างกว้างขวางและเป็นไปเอง ตลอดจนแนวคิดเรื่องหนังสือใกล้คน เพื่อให้หนังสือทำงานด้วยตัวของมันเอง การสร้างพื้นที่แลกเปลี่ยนความคิดและกิจกรรมที่นำไปสู่การอ่าน การเลี้ยงลูกด้วยการให้เสรีภาพ เรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมและสร้างภูมิคุ้มกันด้วยตนเอง จนนำไปสู่การไต่บันไดการอ่านที่ซับซ้อนมากขึ้น ‘ฟิลาเดลเฟีย’ จึงเป็นมากกว่าร้านหนังสือ เพราะได้หลอมรวมแนวคิดทุกอย่างไว้ในพื้นที่เล็กๆ ที่งดงามกลางธรรมชาติของอำเภอวารินชำราบ เป็นที่ทางของผู้คนที่ใส่ใจเอาการเอางานกับความเป็นไปทางสังคม และเป็นความฝันที่เขา
-
readWORLD EP.47 Book Fair อุบลฯ ความตื่นตัวของสังคมการอ่านในภูมิภาค
23/08/2019 Duração: 56minผ่านพ้นไปหมาดๆ สำหรับงานสัปดาห์หนังสือและการเรียนรู้อุบลฯ ครั้งที่ 11 ที่จังหวัดอุบลราชธานี นี่คืองานออกร้านหนังสือและกิจกรรมการอ่านงานแรกที่จัดขึ้นในภูมิภาคต่างจังหวัด ซึ่งได้รับความสนใจจากนักอ่านอย่างล้นหลามจนเรียกได้ว่าประสบความสำเร็จมาตลอดระเวลากว่าสิบปี ใครที่คุ้นเคยกับการเดินซื้อหาหนังสือใน Book Fair ที่กรุงเทพฯ อาจไม่ตื่นเต้นเท่าไรนัก แต่สำหรับหนอนหนังสือต่างจังหวัดแล้ว การที่มีสำนักพิมพ์ร้านค้าขนหนังสือมาวางขายลดราคาพร้อมกันเป็นเวลาหลายวัน บวกกับกิจกรรม เวิร์คช็อป และบูธนิทรรศการที่น่าสนใจหลากหลาย ย่อมเป็นโอกาสสำคัญที่ไม่มีทางพลาด และส่งผลให้เกิดกระแสความตื่นตัวเรื่องการอ่านอย่างมีนัยสำคัญในพื้นที่ พาไปสัมผัสบรรยากาศภายในงานแบบเรียลๆ ซอกแซกเยี่ยมชมทุกซอกมุมของงาน โดยการนำชมของไกด์กิตติมศักดิ์ อาจารย์ต๋อย-วิลาวัณย์ ศรศิลป์ อดีต ผอ.กศน.จังหวัดอุบลราชธานี หนึ่งในหัวเรี่ยวหัวแรงการจัดงานนี้มาตั้งแต่เริ่มต้นตั้งไข่
-
TKFORUM EP.19 From Collection to Connection
19/08/2019 Duração: 01h08minฟริโซนำเสนอตัวอย่างการออกแบบแหล่งเรียนรู้ 6 โครงการของเมคานู ที่สะท้อนถึงแนวทางในการทำงานที่ยึดหลักการ 3 ประการ ได้แก่ ‘ผู้คน’ (People) คือหัวใจหลักที่มีความสำคัญที่สุดในการออกแบบ ‘สถานที่’ (Place) เป็นเรื่องจำเพาะซึ่งปรับไปตามบริบทของสังคม และ ‘วัตถุประสงค์’ (Purpose) คือสามารถใช้งานได้ตามหน้าที่ อีกทั้งต้องพร้อมรับมือสภาพการณ์ที่อาจเปลี่ยนแปลงในอีกหลายสิบปีข้างหน้า ตัวอย่างการออกแบบห้องสมุด ได้แก่ ห้องสมุดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีแห่งเดลฟท์ (Library Delft University of Technology) ห้องสมุดเมืองเบอร์มิงแฮม (Library of Birmingham) ห้องสมุดประชาชนนิวยอร์ก (New York Public Library) ห้องสมุดมาร์ติน ลูเธอร์ คิง (Dr. Martin Luther King, Jr. Library) ห้องสมุดลอคฮาล (LocHal library) และห้องสมุดประชาชนไถหนาน (Tainan Public Library)
-
TKFORUM EP.18 KPL, a Flipped Library, flipping the City as well
08/08/2019 Duração: 54minห้องสมุดประชาชนเกาสงไม่ได้เป็นเพียงอาคารหรือโครงสร้างสวยๆ เท่านั้น เจิ้ง อี้ พาน เปิดเผยเบื้องหลังความสำเร็จของห้องสมุดแห่งนี้ว่า มาจากการพยายามสร้างความแตกต่างและนวัตกรรมอย่างน้อย 9 ประการ อีกทั้งยังมีกลยุทธ์การสนับสนุนการเข้าถึงความรู้และการให้บริการที่มุ่งตอบโจทย์ความต้องการของผู้คนที่เปลี่ยนไป เช่น ห้องสมุดเคลื่อนที่ ตู้ยืมหนังสืออัตโนมัติในถานีรถไฟใต้ดิน บริการยืมคืนหนังสือข้ามสาขา สื่อส่งเสริมการอ่านสำหรับเด็กแรกเกิด พิพิธภัณฑ์วรรณกรรมแห่งเกาสง ฯลฯ นับตั้งแต่ปี 2010 ถึง 2018 สถิติการให้บริการของห้องสมุดประชาชนเกาสงเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว ทั้งด้านจำนวนผู้ใช้บริการและการยืมคืนหนังสือ ทั้งนี้ ห้องสมุดเป็นหนึ่งในจิ๊กซอว์ชิ้นสำคัญในการเปลี่ยนโฉมเมืองเกาสงจนให้กลายเป็น “อ่าวแห่งใหม่ของภูมิภาคเอเชีย”
-
Coming To Talk EP.24 Harmonic Distortion วงร็อคอิสระ ที่ไม่ปล่อยให้ความฝันถูกลืม
01/08/2019 Duração: 48minครั้งหนึ่งในวัยเด็กทุกคนย่อมเคยมีความฝัน แต่บางครั้งเส้นทางชีวิตอาจไม่ได้มุ่งไปสู่จุดหมายนั้นโดยตรง กว่าจะมาเป็นวงดนตรีร็อคอิสระ “Harmonic Distortion” ดรีม บดินทร์ บัวหลวงงาม และพิ้งค์ อรจิรา โกลากุล ร่วมสร้างสรรค์ความฝันด้วยกันมานับสิบปี เพราะการทำวงดนตรีไม่ใช่แค่เพียงเรื่องการแต่งเพลงได้ เล่นดนตรีเป็น หรือร้องเพลงเพราะ แต่ยังมีสารพัดงานที่ต้องอาศัยทักษะร้อยแปดด้าน การเรียนรู้ที่ไม่รู้จบ ความเพียรพยายาม และการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ
-
Read Around EP.9 เปิดสถิติ คนเมืองไหนยืมหนังสือมากที่สุด
25/07/2019 Duração: 24minสรุปข่าวสารเรื่องราวเด่นในแวดวงการอ่านและการเรียนรู้ทั้งของไทยและต่างประเทศ ในรอบเดือนกรกฎาคม 62 พบกับเรื่อง… •เปิดสถิติ คนเมืองไหนยืมหนังสือมากที่สุด •ห้องสมุดไร้หนังสือ แต่เต็มไปด้วยไอเดีย •งานออกแบบพื้นที่เรียนรู้ ที่เข้ารอบสุดท้าย WORLD INTERIORS NEWS AWARDS 2019 •เปิดตัวแหล่งเรียนรู้ด้านพลังงาน ที่ กฟผ. สำนักงานกลาง